• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2563

    4 มิถุนายน 2563 | Economic News

· ค่าเงินยูโรทรงตัวในทิศทางแข็งค่าจับตาการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบี

ค่าเงินยูโรทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบหลายเดือนเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าอีซ๊บีจะขยายโครงการเข้าซื้อพันธบัตรในคืนนี้เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ค่าเงินยูโรแข็งคา่ขึ้นจึงกดดันให้ดัชนีดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินส่วนใหญ่ลงไปทำต่ำสุดในรอบเกือบ 3 เดือน ขณะที่การกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจทั่วโลกดูจะลดความต้องการถือครองค่าเงินดอลลาร์

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1220 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ปรับแข็งค่าไปที่ 1.1258 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. และเป็นการปรับแข็งค่าต่อเนื่อง 7 วันทำการ

ในส่วนของค่าเงินยูโรเมื่อเทียบเงินเยนนั้นไปทำแข็งค่ามากที่สุดรอบ 4 เดือนที่ 122.625 เยน/ยูโร ก่อนจะทรงตัวที่ 122.21 เยน/ยูโร

ค่าเงินสวิสฟรังก์ก็ปรับแข็งค่าในฐานะ Safe-Haven ที่ 1.0793 ดอลลาร์/สวิสฟรังก์ หลังจากที่ระหว่างวันไปทำแข็งค่ามากสุดตั้งแต่ 14 ม.ค. บริเวณ 1.0820 ดอลลาร์/สวิสฟรังก์

อีซีบีถูกคาดว่าจะมีการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตร 7.5 แสนล้านยูโร (6.69 แสนล้านเหรียญ) ผ่านกองทุนการเข้าซืั้อพันธบัตรฉุกเฉินในวันนี้

ขณะที่อีซีบีจะมีการแถลงผลประชุมในช่วงเวลา 18.45น. และจะมีการกล่าวถ้อยแถลงของนางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบีในช่วงเวลา 19.30น.

ค่าเงินยูโรดูจะได้รับแรงหนุนจากความหวังที่จะเห็นการช่วยเหลือทางการเงินจากทางอียูด้วย หลังจากที่เยรอมนีในเดือนที่ผ่านมาเข้ากดดันให้เกิดกองทุนฟื้นฟู

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวบริเวณ 97.45 จุด หลังร่วงลงไปประมาณ 1% ในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงที่ฟื้นตัว ประกอบกับการกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่ลดความน่าสนใจในการถือครองดอลลาร์

ค่าเงินเยนล่าสุดทรงตัวที่ 108.96 เยน/ดอลลาร์ หลังลงไปใกล้ระดับต่ำสุดรอบ 2 เดือนที่ 108.98 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินปอนด์เปลี่ยนกลับมาแข็งค่าที่ 1.2576 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน เพราะได้รับแรงหนุนจากสัญญาณที่ว่าอังกฤษอาจตั้งใจประนีประนอมกับทางผู้แทนเจรจา Brexit ของฝั่งอียู

หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า อังกฤษยังถูกคาดว่าจะมีการยืดหยุ่นต่อข้อกำหนดทางการค้าและการประมง หากทางอียูเห็นพ้องต่อข้อเรียกร้องในการปรับข้อกำหนดและการเข้าถึงตลาดปลา สำหรับการเจรจารอบใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น

อย่างไรก็ดี อังกฤษจะมีเวลาจนถึง 1 ก.ค. ในการเรียกร้องขอขยายเวลาสำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านในปัจจุบัน และจะสิ้นสุดการหารือร่วมกันในเดือนธ.ค.นี้


· วิเคราะห์ค่าเงินเยน ยังเป็นขาขึ้นและยืนได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 21 ชั่วโมงจึงมีโอกาสอ่อนค่าต่อ

นักวิเคราะห์จาก FXStreet มองว่า จากภาพ RSI รายชั่วโมงมีการสะท้อนถึงภาวะทรงตัวในค่าเงินเยน แต่ก็ยังมีการซื้อขายที่เหนือเส้นกลาง จึงบ่งชี้ว่าตลาดยังเป็นขาขึ้นและมีโอกาสที่จะปรับอ่อนค่าขึ้นได้อีก และอาจทดสอบบริเวณ 108.62 เยน/ดอลลาร์ได้

ขณะที่แรงกดดันจากการเทขายอาจทำให้ราคาหลุดแนวรับได้ และแพทเทิร์นกราฟก็ยังยืนยันว่าหากต่ำกว่าแนวรับก็จะมีเป้าหมายที่ 107.86 เยน/ดอลลาร์

อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนก็น่าจะกลับไปแนว 108.51 เยน/ดอลลาร์ได้ ซึ่งถือเป็นเทรนขาขึ้นของเส้นค่าเฉลี่ย 50-HMA ซึ่งหากผ่านไปได้มีโอกาสเห็นค่าเงินปิดเหนือ 109 เยน/ดอลลาร์ และนั่นจะเปิดกว้างต่อการอ่อนค่าต่อไป


· นักกกลยุทธ์จาก TD Securities กล่าวว่า ตลาดการเงิน ณ ปัจจุบันไม่ได้ให้ความสนใจต่อข้อมูลเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่นัก ดังนั้น ค่าเงินเยนจึงดูจะมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นในเดือนหน้า และคาดว่าจะเห็นค่าเงินเยนมีการสะสมพลังในกรอบระหว่าง 109 - 110 เยน/ดอลลาร์ได้


· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯคาดปรับตัวลงต่ำกว่า 2 ล้านราย

จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯคาดจะปรับตัวลดลงต่ำกว่า 2 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งจะถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. แต่ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระดับสูง ท่ามกลางภาคบริษัทที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

อย่างไรก็ดี จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์อาจสะท้อนถึงภาวะที่ย่ำแย่ของตลาดแรงงานได้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของการจ้างงานภาคเอกชนเมื่อคืนนี้ที่ออกมาดีกว่าที่คาด

ผลสำรวจเรื่องตลาดแรงงานจะสะท้อนความเชื่อมั่นผู้บริโภค ภาคการผลิต และภาคอุตหสากรรมการบริการว่ามีเสถียรภาพหรือไม่จากที่ดิ่งลงทำต่ำสุดในเดือนพ.ค. และจะเป็นตัวชี้วัดว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลงจากที่เผชิญภาวะ Lockdown ของประเทศไปตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค.หรือไม่

นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงอาจเป็นผลมาจากการเลิกจ้างงานระรอกสองของภาคธุรกิจและจะสะท้อนถึงภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอ และสอดคล้องกับจำนวนพนักงานที่ลงทะเบียนขอรับสวัสดิการว่างงานตั้งแต่ที่เกิดภาวะ Shutdown ในช่วงแรกๆ

รัฐบาลสหรัฐฯดูจะจับตาใกล้ชิดต่อรายงานจ้างงานในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นรายงานภาครัฐบาลในวันศุกร์นี้ ที่คาดจะเห็นการจ้างงานลดลงประมาณ 8 ล้านรายในเดือนพ.ค. หลังจากที่ร่วงลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 20.537 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราว่างงานคาดพุ่งแตะ 19.8% ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเทียบกับระดับ 14.7% ในเดือนเม.ย.


· จีนกล่าวจะทำการคลายข้อบังคับเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยจะอนุญาตให้มีเพิ่มผู้โดยสารต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศได้ ซึ่งเป็นการกล่าวสรุปสั้นๆ หลังจากที่ทางสหรัฐฯมีการประกาศแบนผู้โดยสารของจีนที่จะทำการโดยสารเที่ยวบินมายังสหรัฐฯ


· นายจิม แมททิส อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคง วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการใช้กำลังทางทหารตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง โดยระบุว่า นายทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่ได้พยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้แก่ประชาชนชาวสหรัฐฯ โดยไม่แม้แต่จะพยายาม แต่เขาพยายามที่แบ่งแยกพวกของเขา ซึ่งพิสูจน์ได้จากช่วง 3 ปีนี้สำหรับความพยายามอย่างจริงจัง


· อีซีบีเตรียมเพิ่มเม็ดเงินช่วยเหลือวิกฤตไวรัสโคโรนาในยูโรโซน

อีซีบีจะมีการอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่มเติมแต่อาจต้องมีการหารือกันในเรื่องการแบ่งแยกกรอบเวลา และอีกหนึ่งคำถามสำคัญสำหรับการประชุมอีซีบีวันพรุ่งนี้คือ จะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือจะคงมาตรการต่างๆไว้จนถึงเดือนก.ค.

ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ฉุดให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงลึกและดูจะกินเวลานานกว่าที่คาด รัฐบาลจะเผชิญกับภาวะขาดดุลที่เพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ และอีซีีบีต้องเผชิญหน้ากับระดับหนี้ก้อนใหม่ รวมทั้งการจัดการเรื่องการกู้ยื

อีซีบีจะต้องสร้างความชัดเจนถึงสิ่งที่จะทำต่อไป แต่ข้อตกลงทางการเมืองสำหรับงบประมาณสนับสนุนจากทางอียูก็เป็นอีกหนึ่งกรณีที่ต้องอดทนรอ

นักเศรษฐศาสตร์จาก Holger Schmieding กล่าวว่า ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะไม่กิดขึ้นมากนัก และเราคาดมีโอกาส 60% ที่จะเห็นอีซีบีเลือกเพิ่มการเข้าซื้อสินทรัพย์อีกประมาณ 5 แสนล้านยูโร

ขณะที่นักลงทุนสนใจต่อการประชุมอีซีบีในวันนี้ เพราะคาดจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโรและหุ้นในแถบยูโรโซนได้ ท่ามกลางดัชนี STOXX50E ที่ยังคงเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดรอบ 3 เดือน


· รายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส ระบุว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาในญี่ปุ่นได้ส่งผลให้เกิดการอัดฉีดครั้งใหญ่ ท่ามกลางหลายๆภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะในกลุ่มภัตตาคาร ที่ต้องเร่งหาช่องทางทางการเงินสำหรับเรื่องของเนื้อวัววากิว, เมลอน และกลุ่มการท่องเที่ยว เพื่อเร่งช่วยเหลือภาคบริษัทที่ต้องการเงินสด

ภาคอุตสาหกรรมร้านอาหารชะลอตัวลงและถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับแผนการฟื้นฟูในวงเงิน 2.2 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งเป็นวงเงินขนานใหญ่เท่ากับอิตาลี

ความเสี่ยงของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นดูจะย่ำแย่ลงและก้าวเข้าสู่การเผชิญกับภาวะถดถอย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมร้านอาหารซึ่งเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นคิดเป็นมูลค่า 2.32 แสนล้านเหรียญ ควบคู่กับการสนับสนุนการเพิ่มกำลังการจ้างงงานใหม่ปีนี้ที่ 1.3 ล้านราย หรือคิดเป็น 17% ของการจ้างงานตำแหน่งใหม่

ภาพรวมกว่า 190 บริษัทขนาดเล็กจะประกอบไปด้วย 30 ร้านอาหาร ที่ประสบปัญหาในระหว่างช่วงเกิดวิกฤตไวรัสนี้


· เจ้าหน้าที่บีโอเจระดับสูง กล่าวว่า บีโอเจไม่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในขณะนี้ถึงการเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มในการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ


· รัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นชี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดมีขึ้นเพื่อหนุน Real GDP ประมาณ 2.0%

นายยาซุโตชิ นิชิมูระ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดของทางญ่ี่ปุ่นมีขึ้นเพื่อที่จะช่วยเหลือเยียวยาเศรษฐกิจที่กำลังอ่อนแอจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่คาดว่าจะส่งผลให้จีดีพีที่แท้จริงขยายตัวได้ที่ 2%

ขณะที่เดือนที่แล้วรัฐบาลญี่ปุ่นมีการอนุมัติงบก้อนใหม่ 1.1 ล้านล้านเหรียญในแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจอันประกอไปด้วยการอัดฉีดค่าใช้จ่ายโดยตรงไปยังกิจกรรมทางเศรษบกิจที่ถูกคุกคามจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และเพื่อช่วยกู้เศรษฐกิจให้ก้าวออกจากภาวะถดถอย

อย่างไรก็ดี งบกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 117 ล้านล้านเยน เป็นมาตรการเดียวกับการอัดฉีดที่ใช้ในเดือนเม.ย. เพื่อเสริมการเติบโตของจีดีพีที่แท้จริง อันประกอบไปด้วยแพ็คเกจล่าสุดที่จะส่งผลต่อจีดีพีแท้จริงประมาณ 6.4%


· องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเมื่อวันวานนี้ ว่าการทดลองทางคลินิกของยา hydroxychloroquine จะดำเนินต่อไปในขณะที่กำลังค้นหาการรักษาด้วยไวรัสโคโรนา

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา WHO ได้ประกาศระงับการทดลองชั่วคราวเพื่อทำการตรวจสอบความปลอดภัยซึ่งขณะนี้ได้ข้อสรุปว่าไม่มี "เหตุผลใดที่จะต้องแก้ไขเกณฑ์วิธีการทดลองทางคลินิก"

โดยฝ่ายบริหารได้รับข้อชี้แนะดังกล่าวแล้วและอนุมัติให้ทุกฝ่ายเดินหน้าทำงานในโครงการ Solidarity Trial ซึ่งเป็นการทดลองที่ครอบคลุมถึงยา hydroxychloroquine

ทั้งนี้ โครงการ Solidarity Trial เป็นแผนที่ได้รับการสนับสนุนจาก WHO เพื่อประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาและยาสูตรผสม 4 รายการ สำหรับต้านทานไวรัสโคโรนา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือยา hydroxychloroquine

· ธนาคารกลางอังกฤษเรียกร้องให้ธนาคารต่างๆประเมินความเสียหายในการกู้ยืมช่วงการระบาดของไวรัส เพื่อนำข้อมูลต่างๆมาประมวลเพิ่มเติมก่อนการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 2/2020 และเพื่อเทียบกรอบเวลา และยอดรวมการสูญเสียจากเดือนที่ผ่านมา


· จับตายอดขายค้าปลีกของออสเตรเลียเดือนเมษายน หลังผลประกอบการตกต่ำลงในไตรมาสที่ 2

ออสเตรเลียประสบปัญหายอดค้าปลีกร่วงลงเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนเม.ย. จากมาตรการ Lockdown ภายในประเทศเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนา ท่ามกลางตลาดการเงินต่างๆและผู้กำหนดนโยบาย คาดว่าไตรมาสปัจจุบันจะเผชิญกับการเติบโตที่แย่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมา

สำนักสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เผย ยอดค้าปลีกในเดือนเม.ย. ร่วงลง 17.7% ซึ่งเป็นระดับการปรับตัวลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่เดือนมี.ค. ขยายตัวได้ 8.5%

การใช้มาตราการเข้มงวดเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาภายในประเทศ ทั้งมาตรการ Social Distancing ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. ส่งผลให้หลายๆกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องมีการปิดตัว ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การผ่อนคลายบางส่วนในเดือนนี้ อาจเป็นเพียงชั่วคราวก่อนที่จะกลับมาเปิดได้เต็มรูปแบบก่อนเกิดวิกฤต

บรรดานักวิเคราะห์ คาด จีดีพีของออสเตรเลียอาจลดลงประมาณ 8% ในไตรมาสปัจจุบัน ด้วยยอดค้าปลีกที่ตกต่ำลง่ในเดือนเม.ย. เพียงอย่างเดียวที่หดตัวลงไป -2.1% ของจีดีพี และนี่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจออสเตรเลียต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตเป็นเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 สัปดาห์ หลังจากที่หดตัวลงไป 0.3% ในไตรมาสสุดท้าย

· นางคริสตาลินา จอร์เจียฟวา ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า ประเทศยากจนบางประเทศและประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อาจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้ของตัวเองในอนาคต เพราะไม่เช่นนั้นการจ่ายชำระหนี้อาจไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ กองทุนอาจมีการชำระเงินได้ประมาณ 2.6 แสนล้านเหรียญ ถึง 1 ล้านล้านเหรียญ ประกอบกับวงเงินกู้ฉุกเฉินให้แก่ 63 ประเทศจาก 103 ประเทศที่ร้องขอมาตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.

· ยอดขายรถยนต์ในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นในเดือนพ.ค. หลังจากที่ร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 1946 ในเดือนเม.ย. แต่ภาพรวมยังคงปรับตัวลงไปเกือบ 90% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี อันได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยในเบื้องต้นบริษัท Society of Motor Manufacturers and Traders (SMMT) แสดงให้เห็นถึงยอดขายรถใหม่ที่ลงทะเบียนในเดือนเม.ย. มีเพียง 20,000 คัน โดยเพิ่มจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 4,321 คน ในเดือนเม.ย. แต่เมื่อเทียบปีที่แล้วจะพบยอดลงทะเบียนรถยนต์มีมากถึง 183,724 คันในดือนพ.ค.เช่นเดียวกัน

· Adidas เผยยอดขายในจีนปรับตัวขึ้นเร็วกว่าคาดหลังจากที่จีนเผชิญกับ Lockdown ขณะที่การกลับมาเปิดทำการในยุโรปและสหรัฐฯดูจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งสถานะบ่งชี้ในเดือนเม.ย. พบว่ายอดขายของ Adidas จะต้องปรับตัวลงไม่น้อยกว่า 40% ในช่วง Q2/2020 และผลกำไรที่คาดจะหายไปราว 100 ล้านยูโร (112.05 ล้านเหรียญ) และคาดจะให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติมอีกทีในวันที่ 6 ส.ค.นี้


· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากเพิ่มขึ้นได้ในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับข้อตกลงการขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปก หลังกลุ่มผู้ผลิตยังมีความไม่แน่นอนต่อการกำหนดโควตาในการผลิตสำหรับแต่ละประเทศ จากปัญหาที่สมาชิกหลายประเทศผลิตน้ำมันดิบมากกว่าที่ตกลงไว้ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 1.18% ที่ะรดับ 39.32 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 1.80% ที่ระดับ 36.62 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com