• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2563

    29 พฤษภาคม 2563 | SET News
 

· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลงวานนี้ ท่ามกลางหุ้น Facebook ที่ร่วงลงเพราะถูกกดดันจากถ้อยแถลงของผู้นำสหรัฐฯ ที่ทำการลงนามกฎหมายพิเศษในการควบคุมบริษัทโซเชียลมีเดีย ขณะที่สถานการณ์ความสัมพันธ์ระห่างสหรัฐฯและจีนที่เลวร้ายลง ก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันการฟื้นตัวของตลาดหุ้น และทำให้เกิดแรงเทขายเข้ามา

ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 147.63 จุดหรือ -0.58% ที่ 25,400.64 จุด ด้าน S&P500 ปิด -0.21% ที่ 3,029.73 จุด และ Nasdaq ปิด -0.46% ที่ 9,368.99 จุด

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและข้อมูลการว่างงานของสหรัฐฯที่ช่วยชดเชยความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดในสหรัฐฯ-จีนที่เพิ่มขึ้น

ดัชนี Stoxx600 เพิ่มขึ้น 1.8% แม้ว่าจะมีปริมาณการซื้อขายปานกลาง โดยหุ้นกลุ่มเคมีภัณฑ์พุ่งขึ้น 2.6%

ทั้งนี้ นักลงทุนกำลังจับตาดูความคืบหน้าที่เกิดขึ้นในสงครามระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งมีการค้าขาย การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและข้อพิพาทกรณีความมั่นคงของฮ่องกง

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ โดยเหล่านักลงทุนกำลังรอคอยการแถลงข่าวจากนายโดนัมด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯเกี่ยวกับประเทศจีนที่เกิดขึ้นจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

ดัชนี Nikkei ลดลง 0.56% จากหุ้นของผู้ผลิตหุ่นยนต์ Fanuc ลดลง 2.13% ด้านดัชนี Topix ลดลง 0.56%

ดัชนี Kospi เกาหลีใต้ ลดลง 0.55% จากหุ้นของผู้ผลิตชิป SK Hynix ลดลงมากกว่า 2% ขณะที่ดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 0.84%

· นักลงทุนให้ความสนใจกับท่าทีการตอบสนองต่อตลาดหลังจากรัฐสภาจีนทำการอนุมัติกฎหมายข้อกำหนดด้านความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ซึ่งดูจะเป็นการปูทางให้เกิดกฎหมายฉบับสุดท้ายเป็นรูปเป็นร่างที่จะมีผลต่อฮ่องกง

ด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า เขาจะจัดงานแถลงข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีนซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในวันนี้

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 0.32%

· นักบริหารเงิน ประเมินเงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-31.95 บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ตลาดจับตา ได้แก่ สถานการณ์การชุมนุมในฮ่องกง และปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีน

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1/63 ระบุว่า ผลกระทบโควิด-19 ยังไม่สะท้อนในไตรมาสที่ 1 โดยการจ้างงานลดลงต่อเนื่อง แต่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่คาดว่าจะมีผลกระทบค่อนข้างมากในไตรมาส 2/63 ทั้งเรื่องของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่อาจมีผลต่อการว่างงาน โดยทั้งปีคาดว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ในช่วง 3-4% หรือไม่เกิน 2 ล้านคน ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/63 มีมูลค่า 156,227 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 3.23% ต่อสินเชื่อรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.90% ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการ ชำระหนี้ของสินเชื่อทุกประเภทด้อยลง

· อ้างอิงจากสำนักข่าวฐานเศรษฐกิจ

- ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ประเมินช่วงที่เหลือมี 3ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่

1.ถ้าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนกลับมาปะทุอีกครั้งจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยบวกของไทยยังไม่กลับมา

2.การเมืองภายในประเทศซึ่งมีการอภิปราย(ดีเบต) เรื่องการกู้เงินของรัฐบาลเริ่มเห็นความไม่แน่นอนจะนำไปสู่การเมืองนอกสภาหรือไม่

3.ถ้าเกิดการติดเชื้อโควิดรอบสอง(Second Wave)ในช่วงที่เหลือของปีจะเป็นความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจที่จะกลับมาเปิดดำเนินการซึ่งส่วนใหญ่ต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว จึงต้องให้มั่นใจด้านสาธารณสุข

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com