• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 3 เมษายน 2563

    3 เมษายน 2563 | Economic News

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,019,571 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 53,325 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 204 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 496 ราย รวมอยู่ที่ 245,373 ราย และมีผู้เสียชีวิตสู่ระดับ 6,095 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 103 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,978 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4 ราย รวมสะสม 19 ราย

- ไวรัสโคโรนาระบาดหนักทั่วโลกพุ่งเหนือ 1 ล้านรายแล้ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงกว่า 52,000 ราย โดยสหรัฐฯ มียอดผู้เสียชีวิตแซงหน้าสเปนและอิตาลีแล้วล่าสุด

- เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะเผชิญกับตัวเลขจ้างงานที่ออกมาแย่ลงในเดือนมี.ค. และจะทำให้ภาพการเติบโตช่วง 113 เดือนต่อเนื่องต้องยุติลง ท่ามกลางมาตรการการควบคุมเรื่องการระบาดของไวรัสที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคโรงงาน และก่อให้เกิดสัญญาณถดถอยทางเศรษฐกิจ

ด้านอัตราว่างงานถูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 3.8% ในเดือนมีนาคม ตามหลังข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เพิ่มขึ้นไป รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มองว่าอัตราว่างงานอาจพุ่งทะลุแตะ 10% ได้ในเดือนเม.ย. และจะยิ่งบั่นทอนจีดีพีสหรัฐฯ รวมทั้งส่งผลให้รัฐบาลและเฟดจำเป็นต้องเตรียมเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่บางรายมองว่าอาจเห็นความต้องการใช้เงินสดมากขึ้นเพื่อเป็นการเก็บออมไว้กับตัวไม่ใช่เพื่อใช้จ่าย ดังเช่นที่เคยเกิดวิกฤตในต้นปี 2000

- ภาคบริการสุขภาพของยุโรปได้รับผลกระทบในการจัดการกับไวรัสโคโรนา หลังขาดแคลนเตียงผู้ป่วย หน้ากากอนามัยและบุคลากรทางการแพทย์ ที่ดูเหมือนจะทำให้ภาพรวมการระบบทางการแพทย์อ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศอิตาลี, สเปน, อังกฤษ และโปรตุเกส ที่ดูเหมือนจะมีการระบาดอย่างมากและทำให้ประสบภาวะการแพทย์ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์บางรายก็มีการกักตัวเองเพื่อเฝ้าระวัง จึงทำให้แพทย์บางรายต้องทำงานควบกะ และสิ่งนี้ทำให้เกิดการ Overload ทางการแพทย์ขึ้นมา เพราะนอกจากอุปกรณ์ทางการแพทย์จะไม่เพียงพอ ตัวบุคคลกรทางการแพทย์เองก็ไม่เพียงพอเช่นกัน

- รายงานล่าสุดพบว่าเยอรมนีมียอดผู้ติดเชื้อพุ่งแซงจีนเป็นที่เรียบร้อย และกลายมาเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ด้วยยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดอยู่ที่ 84,788 ราย ขณะที่จีนมียอดผู้ติดเชื้อที่ 82,432 ราย

- ธนาคารกลางมาเลเซียกล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจอาจหดตัวในปีนี้ โดยจีดีพีปีนี้คาดหดตัวอยู่ระหว่าง -2.0% ถึง 0.5%

- สาธารณสุขไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 103 ราย รวมยอดสะสมที่ 1,978 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 4 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 19 ราย

- เกาหลีใต้มียอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นแตะ 10,000 ราย

- จีนเผยมีเครื่องมือเพียงพอในการจัดการกับผลกระทบของไวรัสโคโรนา

- ล่าสุดวันนี้สิงคโปร์ตัดสินใจทำการปิดสถานศึกษาเป็นการชั่วคราว รวมทั้งสถานประกอบการบางแห่งเพื่อลดผลการระบาดของไวรัสโคโรนา

- การสำรองค่าเงินของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อาจชะลอการรีบาวน์ลง โดยผลสำรวจจากรอยเตอร์สชี้ว่าเงินปอนด์อาจแย่มากที่สุด ท่ามกลางผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาไปทั่วโลก ขณะที่ปีหน้ามีแนวโน้มที่จะเห็นค่าเงินฮังการีมีการฟื้นตัวจากต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และค่าเงินของประเทศสาธารณรัฐเช็คจะค่อยๆแข็งค่าขึ้น

- รองคณะกรรมาธิการอียู เผยว่า ทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอียูเปิดกว้างสำหรับทุกทางเลือกในการต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนาเป็นกรณีฉุกเฉิน

· Morgan Stanley เผย เศรษฐกิจสหรัฐฯหดตัวด้วยอัตราที่เร็วที่สุดตั้งแต่ปี 1946 ท่ามกลางอัตราว่างงานอาจพุ่งแตะ 15%

- เศรษฐกิจสหรัฐฯจะหดตัวลงแตะ -5.5% ในปี 2020 ด้วยอัตราการปรับตัวลงเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1946 ด้วยอัตราการหดตัวสูงถึง 38% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ท่ามกลางพิษโคโรนาที่บั่นทอนเศรษฐกิจ ขณะที่ไตรมาสแรกของปีนี้คาดจีดีพีรายปีอาจร่วงมาที่ -3.4% จากก่อนหน้าที่ 2.4%

ในส่วนของอัตราว่างงานมีแนวโน้มจะขึ้นไปทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 15.7% ในช่วงไตรมาสที่ 2 จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่คาดปรับขึ้นแตะ 12.8% โดยน่าจะมีคนสูญเสียตำแหน่งงานกว่า 21 ล้านคนในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

· นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า มีการอัดฉีดเงินกู้เพื่อเข้าช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็กกว่า 3.49 แสนล้านเหรียญ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา พร้อมตัดสินใจปรับอัตราเงินกู้เพิ่มเป็นเท่าตัวที่ 1% จากเดิม 0.5%

· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นได้เกือบ 2% ในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่เข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้นในสภาวะที่เศรษฐกิจดูจะเลวร้ายลงจากผลกระทบของการไวรัสโคโรนาเวลานี้

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.0838 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 1.8% ในสัปดาห์นี้ และทรงตัวที่ 100.21 จุด ซึ่งถือเป็นระดับที่ดีที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. ด้านเงินเยนปรับอ่อนค่ามาที่ 108 เยน/ดอลลาร์

· ธนาคาร Nomura คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะหดตัวลงไปกว่า 18% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี ขณะที่ปีนี้มีแนวโน้มหดตัวลงมา 4%

· สัญญาน้ำมันดิบฟิวเจอร์อย่าง Brent ปรับตัวขึ้นในช่วงเปิดตลาดยุโรปวันนี้ หลังจากที่ในช่วงตลาดเอเชียอ่อนตัวลงจากแรงขายทำกำไร โดยล่าสุดกลับมายืนเหนือ 30 เหรียญ/บาร์เรล ท่ามกลางความหวังที่ว่าการมีข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตจะช่วยหนุนตลาดได้

น้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 7% หรือ 2.1 เหรียญ ที่ 32.04 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปรับขึ้นประมาณ 28 เซนต์ หรือ +1% ที่ 25.6 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com