• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2563

    31 มีนาคม 2563 | Economic News

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา

-จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 787,273 ราย

-จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 37,846 ราย

-จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 200 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

-จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 164,320 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวม 3,173 ราย

-จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 101,739 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 11,591 ราย (+812)

-จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 127 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,651 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย รวมสะสม 10 ราย


- การระบาดของไวรัสในเอเชียยัง “อีกนานกว่าจะจบ”

ผู้บริหารส่วนภูมิภาคขององค์กรอนามัยโลกเตือน การระบาดของ COVID-19 ในแถบเอเชีย-แปซิฟิกยัง “อีกนานกว่าจะจบ” แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีการใช้มาตรการป้องกันไวรัสกันอย่างเต็มที่ แต่ตราบใดที่ยังเป็นการระบาดในระดับโลก (Pandemic) การระบาดของไวรัสก็จะยังไม่จบลงในเร็วๆนี้


- อังกฤษยังคงอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของไวรัสโคโณนาที่อาจอยู่นานถึง 6 เดือน ท่ามกลางผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวออกมาบอกถึงการเห็นสัญญาณการชะลอตัวของอังกฤษ โดยการจำกัดการใช้ชีวิตของประชาชนภายในประเทศยังมีความจำเป็นตลอดจนช่วงฤดูร้อนนี้ รวมทั้งการเข้าสู่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของไวรัส ที่ทำให้อังกฤษเข้าสู่ภาวะ Lockdown พร้อมท่าทีที่อาจผ่อนปรนมาตรการหากยังมีสัญญาณที่เริ่มต้นทรงตัวหรือชะลอตัว โดยมาตรการ Social Distancing มีแนวโน้มเพื่อให้ประชาชนได้พำนักอยู่ในที่อาศัย

- เม็กซิโกประกาศภาวะฉุกเฉินทางสุขอนามัยทั่วประเทศ เพื่อหวังชะลอการระบาดของ COVID-19 หลังยอดผู้ติดเชื้อในประเทศล่าสุดพุ่งสูงกว่า 1,000 ราย

- ออสเตรเลียรายงานยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ออกมาลดน้อยลงในวันนี้ ขณะที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการระบาดต่อไป แม้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะชะลอตัวลงก็ตาม

- รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศระงับเที่ยวบินขาเข้าและการโดยสารที่มาจากต่างประเทศทั้งหมด ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากไวรัสในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- เวียดนามประกาศใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมเป็นเวลา 15 วัน เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. นี้เป็นต้นไป เพื่อชะลอโอกาสการแพร่ระบาดของ COVID-19


· ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อค่าเงินดอลลาร์ก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณ ขณะที่ภาพรวมความเชื่อมั่นในตลาดยังคงอ่อนค่าจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา

ค่าเงินหยวนค่อนข้างทรงตัวหลังกาประกาศตัวเลขกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. ที่ฟื้นกลับมาในแดนเติบโตอย่างผิดคาด แต่ตลาดยังคงมองว่าภาวะความอ่อนแอของเศรษฐกิจจะยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนยังประสบความยากลำบากในการกลับการดำเนินการอีกครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสทั่วโลกที่ย่ำแย่ลง

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร หลังบรรดาสถาบันจัดอันดับยังคงปรับลดความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจอังกฤษ และตลาดการเงินกำลังมีความต้องการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในระดับสูง

วันนี้เป็นวันเทรดวันสุดท้ายก่อนสิ้นสุดปีงบประมาณของญี่ปุ่น รวมถึงเป็นวันสิ้นสุดไตรมาสแรก จึงอาจเห็นตลาดมีการเคลื่อนไหวผันผวน ซึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุนรายใหญ่ปิดสถานะทำกำไร

ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมองว่าผลกระทบจากไวรัสโคโรนาจะยังเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางของเศรษฐกิจในปีนี้ ส่วนโอกาสที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวกลายเป็นที่ค่อนข้างแน่นอนแล้ว

ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.45% เมื่อเทียบกับเงินเยนแถว 108.31 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินหยวนทรงตัวแถว 7.0888 หยวน/ดอลลาร์

ค่าเงินยูโรอ่อนค่า 0.22% แถว 1.1017 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนหน้ากาประกาศตัวเลขการจ้างงานในเยอรมนีที่คาดว่าจะมีจำนวนคนว่างงานเพิ่มมากขึ้นจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา


· อดีตปธ.เฟดไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะถดถอยลึกแค่ไหน

นางเจเน็ต เยลเลน อดีตประธานเฟด ระบุว่าไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจจะรุนแรงแค่ไหน ท่ามกลางวิกฤติการระบาดของไวรัสโคโรนา

โดยการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งนี้มีความรุนแรงและแตกต่างกับที่สหรัฐฯเคยเผชิญมา ขณะที่เกือบทุกปัจจัยต่างบ่งชี้ไปยังการชะลอตัวของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในไตรมาสที่ 2/2020 และไม่สามารถประเมินได้ว่าเศรษฐกิจจะถดถอยลงไปลึกแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับว่ามาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมจะยืดเยื้อออกไปนานแค่ไหน

กรณีที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ คือการเกิดภาวะถดถอยแบบ V-Shape กล่าวคือเมื่อเศรษฐกิจถดถอยจนถึงขีดสุดแล้ว เศรษฐกิจก็จะสามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว


· Moody’s หั่นความสามารถบริหารหนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ สู่ระดับติดลบ

สถาบัน Moody’s Investors Service ปรับคาดการณ์ปริมาณหนี้สำหรับภาคเอกชนสู่ระดับติดลบ พร้อมเตือนว่าผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาจะนำมาซึ่งอัตราการเบี้ยวหนี้ที่สูงขึ้น

ทางสถาบันยังเตือนว่าธุรกิจที่ต้องพึ่งพาอุปสงค์จากผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากการใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมที่ทำให้กิจกรรมทางสังคมลดน้อยลง ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ได้แก่สายการบิน โรงแรม เรือสำราญ และยานยนต์

นอกจากนี้ ราคาพลังงานที่ตกต่ำจะทำให้ธุรกิจภาคพลังงานมีความบอบบางลงอย่างมาก ขณะที่ภาคธนาคารก็จะเผชิญความยากลำบากในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำและภาพรวมเศรษฐกิจที่สูญเสียผลประกอบการกันถ้วนหน้า

ขณะที่ปริมาณหนี้สินภาคเอกชนสหรัฐฯในปี 2019 รวมอยู่ที่ระดับ 6.6 ล้านล้านเหรียญ คิดเป็นเพิ่มขึ้น 78% จากปริมาณหนี้สินในช่วงวิกฤติการเงินที่จบลงในปี 2009


· ไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อความต้องการอุตสาหกรรมเสื้อผ้าส่งผลให้งานในเอเชียตกอยู่ในความเสี่ยง

อุตสาหกรรมเสื้อผ้ากำลังประสบกับความต้องการที่ลดลงเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้งานทั่วเอเชียตกอยู่ในความเสี่ยง

ประธานกรรมการบริหารประจำ Lever Style ระบุว่า อุตสาหกรรมทั้งหมดถูกปิด ร้านค้า แบรนด์และผู้ค้าปลีก ต่างพากันยกเลิกคำสั่งซื้อหรือชะลอคำสั่งซื้อออกไปก่อน เนื่องจากพวกเขากังวลว่าอาจจะไม่สามารถขายได้

ซึ่งเอเชียเป็นกุญแจสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าและงานจำนวนมากในภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมในประเทศ เช่น บังคลาเทศ กัมพูชาและจีน ที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจการส่งออก


· Fitch Ratings ชี้ การระบาดของไวรัสจกดดันผลประกอบการของธนาคารในเอเชียแปซิฟิก

สถาบัน Fitch Ratings ประเมินว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเผชิญความยากลำบากในการดำเนินกิจการมากขึ้น ท่ามกลางผลกระทบจากการะบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลก

โดยทางสถาบันได้ทำการทดสอบระบบธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ และได้ปรับมุมมองต่อความสามารถในการปฏิบัติการของระบบธนาคารทั่วภูมิภาคทั้ง 17 ระบบ สู่ระดับ “ติดลบ”


· กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนฟื้นตัวขึ้นได้ผิดคาดในเดือน มี.ค. หลังจากที่ชะลอตัวลงอย่างมากในเดือนก่อน ขณะที่นักวิเคราะห์เตือนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ ยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นต่ำ ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของไวรั

โดยดัชนี PMI ของจีนในเดือน มี.ค. ประกาศออกมาที่ระดับ 52 จุด พุ่งขึ้นจากระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 35.7 จุดในเดือน ก.พ.


· Volkswagen เผยคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศจีนจะฟื้นตัวได้ถึง 4 เท่าภายในเดือน มี.ค. สู่ระดับ 1 ล้านยูนิต จากเดิมในเดือน ก.พ. ที่ 250,000 ยูนิต ซึ่งเป็นสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศจีนจากวิกฤติไวรัส


· Huawei อ้าง เสียผลประกอบการกว่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญในปี 2019 เพราะการ ลงบัญชีดำของสหรัฐฯ


· ข้อมูลจากภาคอุตสาหกรรมอังกฤษ เปิดเผยว่า ชาวอังกฤษซื้อของจากร้านขายของชำเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษมากกว่า 79 ล้านครั้งในช่วงสี่ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา จนถึงสัปดาห์ที่ 21 มี.ค. เทียบกับปีก่อน เพื่อเป็นการ “กักตุนสินค้า” ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้ยอดขายของบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น 20.5%


· ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวได้หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายวลาดีเมีย ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ตกลงที่จะเจรจาเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดพลังงาน ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งเป็นผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงทั่วโลกอ่อนแอลง

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้น 30 เซนต์ หรือ 1.3% ที่ระดับ 23.06 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่เมื่อวานปิดตลาดที่ 22.76 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2002

ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับ 1.21 เหรียญ หรือ 6.0% ที่ระดับ 21.30 เหรียญ/บาร์เรล จากระดับ 20.29 เหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ ก.พ. 2002



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com