• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2563

    30 มีนาคม 2563 | Economic News


 

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 721,562 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 33,965 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 199 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 18,426 ราย รวมอยู่ที่ 142,004 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 264 ราย สู่ระดับ 2,484 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 97,689 ราย (+5,217) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 10,779 ราย (+756)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 143 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,388 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 7 ราย (+1)

- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำการลงนามร่างกฎหมายงบประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญเพื่อใช้ต่อสู้กับการระบาดของโรคไวรัสโคโรนาที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และนี่ถือเป็นการผ่านร่างงบประมาณที่เรียกได้ว่าเป็นครั้งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์

- ท่ามกลางวิกฤติไวรัส ชาวอเมริกันเริ่มหันมาพึ่งพารัฐบาลมากขึ้น

สหรัฐฯมีความเสี่ยงที่จะต้องปิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ลงตามที่หัวหน้าฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรและส.ส.เดโมแครตคาดการณ์ไว้มากขึ้น เพื่อหันมาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนมากกว่าเศรษฐกิจ

ขณะที่นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็เริ่มที่จะเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวมากขึ้น

ไม่ว่าสถานการณ์ภายในรัฐบาลจะเป็นไร แต่ตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐฯมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

นักวิเคราะห์ประเมินว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่นการปล่อยกู้และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ประกาศใช้ อาจมีมูลค่าคิดเป็นประมาณ 30% ของ GDP สหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลอาจผลักดันให้ยอดเกินดุลของภาครัฐสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อพยุงเศรษฐกิจเอาไว้

- ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว CNN โดยระบุถึงการคาดการณ์ที่ว่า จะมีชาวสหรัฐฯเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาได้มากถึง 200,000 รายจากจำนวนล้านเคส โดยการประเมินล่าสุดเชื่อว่าการระบาดจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 100,000 – 200,000 ราย

- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขยายเวลามาตรการการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) ไปจนถึง 30 เม.ย.นี้ จากกำหนดเดิม 12 เม.ย. พร้อมกับคาดหวังว่าสหรัฐฯจะสามารถฟื้นตัวได้ก่อน 1 มิ.ย. ขณะที่การระบาดของไวรัสโคโรนาอาจมีอัตราการเสียชีวิตแตะแนวโน้มสูงที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งคำกล่าวล่าสุดของเขาดูจะสวนทางจากก่อนหน้าที่ต้องการให้ภาคธุรกิจเปิดทำการได้ก่อนช่วงอีสเตอร์

ก่อนหน้านี้ ทางผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ต่างออกมากล่าวเตือนถึงการผ่อนปรนมาตรการก่อนช่วงอิสเตอร์ในวันที่ 12 เม.ย. อาจสง่ผลให้ประชาชนเสียชีวิตมากขึ้นเกินกว่าเหตุ รวมทั้งการทำลายเศรษฐกิจด้วย

- ทรัมป์ปัดแนวคิดปิดนครนิวยอร์ก หลัง CDC แนะนำให้ยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็น


นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่าเขาจะผลักดันให้ปิดนครนิวยอร์กเพื่อกักกันโรค รวมไปถึงนครนิวเจอร์ซี และคอนเทคทิคัท หลังบรรดา ส.ส. เริ่มเสนอแนวคิดดังกล่าวในที่ประชุมรัฐสภา เพื่อช่วยควบคุมการระบาดของ COVID-19

นายทรัมป์มองว่าการปิดเมืองเพื่อกักโรคยังไม่มีความจำเป็นในตอนนี้ หลังจากที่เขาได้ปรึกษากับหน่วยงานเฉพาะกิจของทำเนียบขาว รวมถึงผู้ว่าของทั้ง 3 นคร และนายทรัมป์ได้สั่งการให้หน่วยงาน CDC ออกประกาศควบคุมการเดินทางที่รัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของภาครัฐจะให้ความร่วมมือด้านการคัดกรองผู้เดินทาง

ด้านหน่วยงาน CDC ได้ออกประกาศเตือนให้พลเมืองของนครนิวยอร์ก นิวเจอร์ซี และคอนเทคทิคัท หลีกเลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็นเป็นระยะเวลา 14 วัน มีผลบังคับใช้ในทันที คำสั่งดังกล่าวจะยกเว้นเฉพาะอุตสาหกรรมขนส่ง เจ้าหน้าที่การแพทย์ บริการด้านการเงินและเสบียงอาหาร ขณะที่ผู้ว่าของทั้ง 3 นครจะมีอำนาจในการสั่งการยกระดับควบคุมการเดินทางได้อย่างเต็มที่

- ทรัมป์โทษโรงพยาบาลพยายามกักตุนเครื่องฟอกอากาศ

นายทรัมป์กล่าวโทษบรรดาโรงพยาบาลว่ามีการกักตุนเครื่องฟอกอากาศ ทำให้มีปริมาณเครื่องฟอกอากาศไม่เพียงต่อความต้องการ พร้อมเรียกร้องให้โรงพยาบาลที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ทำการปล่อยอุปกรณ์ออกมา

นายทรัมป์ที่กำลังเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานเพื่อควบคุมโรคไม่ได้มีการกล่าวถึงหลักฐานใดๆที่เกี่ยวกับการกักตุนเครื่องฟอกอากาศของโรงพยาบาล และไม่มีความชัดเจนว่าแผนกใดในโรงพยาบาลที่นายทรัมป์พูดถึง

- สายการบินเสนอ รวมเที่ยวบินทุกเที่ยวเข้ามาในจุดเดียว เพื่อควบคุมไวรัสและพยุงเศรษฐกิ

ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสายการบินต่างๆ ได้เสนอแนวคิดให้รวมปลายทางของเส้นทางบินเข้ามาที่จุดๆเดียวในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยรักษาผลประกอบการของการบรรดาสายการบิน และง่ายต่อการควบคุมการระบาดของ COVID-19

ขณะที่บรรดาตัวแทนของสายการบินมีกำหนดการจะร่วมประชมกับผู้นำกระทรวงคมนาคมของสหรัฐฯภายในสัปดาห์นี้ หลังจากได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเป็นมูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญ สำหรับการช่วยเหลือพนักงานของสายการบินเป็นเวลา 6 เดือน และการประคับประครองธุรกิจต่อไป แต่ปัญหาที่สายการบินกำลังเผชิญคือการที่แทบจะไม่มีผู้โดยสาร

- นางคริสตาลินา จอเจียฟวา ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า เศรษฐกิจโลก ณ ขณะนี้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วจากไวรัสโคโรนา แต่เธอเชื่ออย่างสุดใจว่าจะเห็นบรรดาผู้นำทั่วโลกตระหนักถึงปัญหานี้และร่วมมือกันพยายามจัดการกับการระบาดของไวรัสโคโรนาด้วยวิธี 1. หาวิธียับยั้งการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2. ร่วมมือกันจัดการกับวิกฤตที่เกิดขึน

- นายกรัฐมนตรีสเปนประกาศคุมเข้มมาตรการ Lockdown เพื่อบังคับให้การทำงานนอกสถานที่ที่ไม่จำเป็นทั้งหมดอาศัยอยู่ในบ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ท่ามกลางรายงานผู้เสียชีวิตใหม่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสเปนถือเป็นประเทศลำดับที่ 2 ของยุโรปที่เผชิญกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างหนัก ซึ่งทางที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสเปนล่าสุดเมื่อวานนี้ก็อนุมัติให้ขยายเวลามาตรการ Lockdown ออกไปจากเดิม 30 มี.ค. เป็น 9 เม.ย.

- ภาพรวมยอดผู้เสียชีวิตในอิตาลีค่อยๆปรับตัวดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่โดยองค์รวมน่าจะเห็นการขยายเวลาสำหรับมาตรการควบคุมการระบาดภายในอิตาลีออกไป

- นายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวว่า มีการอนุมัติมาตรการใหม่เพื่อช่วยลดผลเสียอย่างร้ายแรงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ประกอบไปด้วยกิฟต์วอเชอร์ในการซื้อสินค้า และแพ็คเกจอาหารต่างๆ โดยรัฐบาลคาดจะตกลงในประเด็นดังกล่าวมูลค่า 4.3 พันล้านยูโร หรือ 4.79 พันล้านเหรียญได้ เพื่อทำการแจกจ่ายให้แก่ประชาชนรวมกว่า 400 ล้านคน ที่จะนำมาสู่การจัดตั้งกองทุนพิเศษสำหรับประชาชนที่ไม่มีเงินเพื่อทำการจับจ่ายใช้สอยในเวลานี้

- เยอรมนีประกาศจะอัดฉีดเม็ดเงิน 7.5 แสนล้านยูโร หรือ 8.34 แสนล้านเหรียญ เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และหากเยอรมนีประสบภาวะ Lockdown ออกไปอีก 2 เดือน ก็อาจมีการเพิ่มมาตรการช่วยเหลืออีก และนั่นอาจส่งผลให้เกิดงบประมาณขาดุลมหาศาลได้

- เยอรมนียังไม่มีแนวโน้มจะผ่อนคลายมาตรการ Shutdown ประเทศจนกว่าจะถึง 20 เม.ย. เป็นอย่างน้อย

- ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) กล่าวว่า กำลังจัดเตรียมเครื่องมือในการเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคบริษัทและตลาดเพื่อชดเชยผลกระทบจากไวรัสโคโรนาเวลานี้ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านก่องทุน OMO ที่จะเพิ่มงบทุกๆวันอังคารประมาณ 500 ล้านนิวซีแลนด์ดอลลาร์ และการอัดฉีดครั้งแรกจะเริ่มขึ้นในวันพรุ่งนี้ ขณะที่การเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลจะมีการซื้อเพิ่มอย่างน้อยจนถึง 15 พ.ค. ปี 2021 โดยเริ่มขึ้นในวันที่ 31 มี.ค.นี้เช่นกัน

- รายงานจากคณะกรรมมาธิการด้านสุขภาพแห่งชาติของจีน รายงานว่า จีนอาจเผชิญ Wave 2 ของการติดเชื้อไวรัสอันเนื่องจากการเข้าประเทศของชาวต่างชาติ

- นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น เรียกร้องให้ประชาชนงดเว้นการเข้าพบปะกันโดยไม่จำเป็น เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาอาจยิ่งเลวร้ายลงหากประชาชนยังไม่พยายามที่จะช่วยรักษาตัวเองและปฏิบัติตามกฎระเบียบอันควร

- อิหร่านประกาศจะดึงงบประมาณประจำปี 20% มาใช้เพื่อต่อสู้กับการระบขาดของไวรัสโคโรนาในประเทศ

- เกาหลีเหนือยิงมิสไซล์มากขึ้นในช่วง COVID-19 ระบาด

เกาหลีเหนือดูจะมีการยิงทดสอบขีปนาวุธมากขึ้นในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ล่าสุดเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยเกาหลีเหนือได้มีการยิงขีปนาวุธระยะสั้นจำนวน 2 ลูก ออกจากชายฝั่งตะวันออก ขณะที่ทางเกาหลีใต้เรียกร้องว่าไม่เหมาะสมท่ามกลางสถานการณ์ในปัจจุบัน

· ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ยังคงทำระดับรายสัปดาห์ที่อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 4 ปี โดยตลาดได้รับแรงหนุนจากมาตรการ 2 ล้านล้านเหรียญของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นควบคู่กับมาตรการอัดฉีดเม็ดเงินของเฟดในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่า 0.49% ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วอ่อนค่าลง 2.57% ซึ่งเป็นการปรับอ่อนค่างมากที่สุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2016

ตลาดค่าเงินค่อนข้างมีความผันผวนตลอดสัปดาห์ ขณะที่เงินเยนเองก็มีการปรับแข็งค่ามา 0.71% แตะ 108.8 เยน/ดอลลาร์ และค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.66% ที่ 1.0955 ดอลลาร์/ยโร

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงเกือบ 5% และส่งผลให้ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และไม่เพียงแต่ราคาที่ถูกผลกระทบ ตัวภาคบริษัทพลังงานอื่นๆเองก็ได้รับผลกระทบทางด้านการลงทุนด้วยเช่นกัน

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง -5.1% ที่ระดับ 24.99 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปรับลง 1.09 เหรียญ หรือ -4.8% ที่ระดับ 21.51 เหรียญ/บาร์เรล

สำหรับเช้านี้ WTI Futures เปิดในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ยังคงลงต่อจากความเลวร้ายของการระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลก และปัญหา Price Wars ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะตกลงร่วมกันได้

โดยน้ำมันดิบ Brent Futures เปิด -7.1% แตะ 23.5ช15 เหรียญ ในขณะที่ WTI Futures ปรับลง -5.6% หรือร่วงลง 1.17 เหรียญ แตะ 20.34 เหรียญ/บาร์เรล



 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com