• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2563

    25 มีนาคม 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 425,059 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 18,944 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 194 ประเทศ

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 69,176 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 6,820 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอิตาลี โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 54,935 ราย และมีผู้เสียชีวิต 784 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 107 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 934 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4 ราย


· นครนิวยอร์กเผชิญการระบาดหนักที่สุดในสหรัฐฯ แคลิฟอเนียร์เสี่ยงเป็นแห่งต่อไป

นครนิวยอร์กแห่งสหรัฐฯที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 8 ล้านคน เผชิญหน้ากับการระบาดของ COVID-19 หนักที่สุดในสหรัฐฯ ณ ปัจจุบัน โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเมื่อวานนี้นิวยอร์กมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดทั้งหมดในสหรัฐฯ

ล่าสุดนครนิวยอร์กมียอดผู้ติดเชื้อรวมกว่า 15,000 ราย เสียชีวิตอีก 157ราย และนอกจากนิวยอร์กแล้ว ทางรัฐแคลิฟอเนียร์ก็กำลังมีความเป็นไปได้ที่เผชิญกับการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อเช่นกัน

ทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศว่าเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่สำหรับนครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตัน และมีความเป็นไปได้ที่จะมีประกาศเช่นนี้กับรัฐแคลิฟอเนียร์ในเร็วๆนี้ พร้อมระบุว่าจะใช้ “ทรัพยากรทุกอย่างที่มี” เพื่อรับมือกับการภัยพิบัติครั้งนี้


· WHO เตือน สหรัฐฯเสี่ยงกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่

โฆษกประจำองค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าสหรัฐฯกำลังมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่ เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรุนแรง

ภายในเวลา 24 ช.ม.ที่ผ่านมา 85% ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มาจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ โดยที่สหรัฐฯคิดเป็น 40% ของยอดดังกล่าว ดังนั้นทางองค์กรอนามัยโลกจึงเริ่มประเมินถึงโอกาสที่สหรัฐฯจะกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่แล้ว

ทางฝั่งอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ได้ประกาศใช้มาตรการ Shutdown แบบ 24 ช.ม. ตามอังกฤษและประเทศอื่นๆแล้ว ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกต่างชะลอตัวลงด้วยอัตราที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เศรษฐกิจโลกจึงมีแนวโน้มสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

- นิวซีแลนด์ประกาศใช้มาตรการฉุกเฉิน พร้อมเตรียมเข้าสู่การ Lockdown เต็มรูปแบบเป็นเวลา 1 เดือน โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป ประชาชนควรเก็บตัวอยู่บ้าน ส่วนธุรกิจที่ไม่จำเป็นกับชีวิตประจำวันให้หยุดทำการเสีย

- รัฐสภาอังกฤษกำหนดปิดเป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันนี้ ท่ามกลางความพยายามของภาครัฐฯในการสกัดกั้นการระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้

- สิงคโปร์ประกาศเพิ่มมาตรการ Lockdown โดยสั่งปิดสถานบันเทิงทุกประเภทตั้งแต่บาร์ คลับ ไปจนถึงโรงภาพยนตร์ จนถึงวันที่ 30 เม.ย. มีผลบังคับใช้วันพฤหัสบดีนี้ และร้านอาหารที่ยังเปิดทำการอยู่ ขอให้จำกัดจำนวนลูกค้าที่นั่งในร้านลง

- ลิเบียประกาศพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เป็นรายแรกของประเทศวันนี้ แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดใดๆออกมา

- มาเลเซียรายงานยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ออกมาที่ 172 ราย รวมเป็น 1,796 ราย นับเป็นประเทศที่มีการติดเชื้อมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมเป็น 17 ราย

หลังการรายงานยอดวันนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ประกาศเพิ่มมาตรการควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชน พร้อมขยายระยะเวลาปิดประเทศออกไปถึงวันที่ 14 เม.ย. มากกว่ากำหนดการเดิมถึง 2 สัปดาห์


· บิล เกตส์ เตือน สหรัฐฯประกาศ Shutdown ช้าเกินไป

บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft ให้สัมภาษณ์ในรายการ TED Connects โดยเขามีความเห็นว่าสหรัฐฯเสียโอกาสในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากรัฐบาลประกาศใช้มาตรการ Shutdown ช้าเกินไป ซึ่งรัฐบาลควรตระหนักได้ตั้งแต่เดือน ม.ค. เสียด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ บิล เกตส์มองว่ามาตรการกักตัวอยู่บ้านน่าจะเป็นภัยพิบัติให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นแล้วจริงๆ ขณะที่มาตรการ Shutdown ควรดำเนินไปอย่างน้อย 6 – 10 สัปดาห์

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าติดต่อกันเป็นวันที่ 3 หลังมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯสามารถตกลงกันเกี่ยวกับร่างงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงิน 2 ล้านล้านได้แล้ว จึงช่วยคลายกังวลเกี่ยวกับภาวะที่ค่าเงินดอลลาร์อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดลงไปได้

ด้านค่าเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงอย่างดอลลาร์ออสเตรเลียปรับแข็งค่าสูงกว่าระดับ 0.60 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบสัปดาห์ ล่าสุดเคลื่อนไหวแถว 0.6047 ดอลลาร์

ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่า 0.6% ทำระดับแข็งค่าสุดวันนี้ที่ 1.1834 ดอลลาร์/ปอนด์ ส่วนดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า 1% แถว 0.5894 ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.3% แถว 1.0819 ดอลลาร์/ยูโร

นักวิเคราะห์จาก Bank of Singapore เปรียบเทียบให้นโยบายงบ 2 ล้านล้านเหรียญของสหรัฐฯว่าเหมือนกับ “บาซูก้า” ทางการเงินที่จะมาช่วยภาวะคขาดแคลนเงินดอลลาร์ลง และนโยบายดังกล่าวจะสามารถช่วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคสุขภาพได้

เมื่อเทียบกับสกุลเงินส่วนใหญ่ ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่า 0.2% แถว 101.43 จุด ส่วนเมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวแถว 111.17 เยน/ดอลลาร์

· ทำเนียบขาวและวุฒิสภาตกลงร่างนโยบาย 2ล้านล้านเหรียญได้แล้ว

รายงานจาก NBC News ระบุว่าทีมตัวแทนของทำเนียบขาวและวุฒิสภาสามารถตกลงกันเกี่ยวกับนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจเป็นวงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญเพื่อช่วยเศรษฐกิจจากผลกระทบของ COVID-19 ได้แล้วในวันนี้ เบื้องต้นยังไม่มีรายละเอียดใดๆเปิดเผยออกมา

หลังจากเมื่อวานมีรายงานว่าผู้นำของทั้งสองฝ่ายระบุว่าใกล้ที่จะสามารถหาข้อตกลงได้ ซึ่งมีหลายสำนักข่าวที่รายงานไปในทิศทางเดียวกัน แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่การเจรจาอาจยืดเยื้อไปจนถึงช่วงเช้าวันพุธของสหรัฐฯได้ด้วยเช่นกัน

· ร่างงบประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญของสหรัฐฯ มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่มีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯดูเหมือนจะสามารถตกลงกันเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและรับมือ COVID-19 เป็นวงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญได้ในที่สุด

เรามาดูกันว่ารายละเอียดของร่างนโยบายดังกล่าว เท่าที่ทางรัฐบาลเคยแง้มออกมา มีอะไรบ้าง

- งบ 5 แสนล้านเหรียญ สำหรับการจ่ายเงินสดช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้ไม่ถึง 75,000 เหรียญต่อปี คนละ 1,200 เหรียญ และอาจมีการจ่ายอีก 3,000 เหรียญสำหรับครอบครัวที่มีบุตรและที่มีจำนวนสมาชิกรวมกัน 4 คนขึ้น

- งบ 5 แสนล้านเหรียญ สำหรับการสนับสนุนสภาพคล่องทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมที่กำลัง “ประสบความยากลำบาก” แบ่งเป็น 6.1 หมื่นล้านเหรียญสำหรับธุรกิจสายการบินทั้งแบบโดยสารและการขนส่ง โดยในจำนวนนี้จะแบ่งย่อยออกเป็นเงินช่วยเหลือมูลค่า 3.2 หมื่นล้านเหรียญ และงบประมาณสำหรับให้กู้ 2.9 หมื่นล้านเหรียญ

- งบ 3.50 แสนล้านเหรียญสำหรับการปล่อยกู้ให้ธุรกิจขนาดเล็ก

- งบ 1.30 แสนล้านเหรียญสำหรับช่วยเหลือโรงพยาบาล

- งบ 2.50 แสนล้านเหรียญสำหรับการขยายฐานประกันสังคม

- งบ 1 หมื่นล้านเหรียญสำหรับการพัฒนาเวชภัณฑ์ และ 4 พันล้านเหรียญสำหรับการจัดซื้อเครื่องมือป้องกันสำหรับแพทย์ เช่นหน้ากาก ถุงมือ ชุดคลุม รวมถึงระบบระบายอากาศ

· เกือบ 3 ใน 4 ของประชาชนกลุ่มประเทศ G7 คาดถูกไวรัสคุกคามภาคครัวเรือน โดย 70% ของประชาชนในอังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ คาดว่าภาคครัวเรือนจะสูญเสียรายได้ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และจะเห็นได้จากการ Lockdown ในหลายๆประเทศ และการปิดทำการชั่วคราวในกลุ่มการบริการ และการผลิต รวมไปถึงกระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทาน

ในอิตาลีกำลังวิกฤตอย่างแรงในยุโรป และผลสำรวจกว่า 82% เมื่อเทียบกับสหรัฐฯที่จะสูญเสียรายได้ในภาคครัวเรือน 74% ในสหรัฐฯ และ 70% ในอังกฤษ

นอกจากนี้ เยอรมนีก็น่าจะได้รับผลกระทบทางการเงินตามกันไปด้วยเช่นกัน โดยประเทศในกลุ่ม G7 ดูจะได้รับผลกระทบเป็นเวลานาน และกว่า 28% ในอังกฤษเริ่มทำงานที่บ้าน

ด้านญี่ปุ่นเริ่มต้นใส่หน้ากากแล้วกว่า 65% แต่จำนวนก็ยังน้อยกว่าประชากรทั้งหมด แม้ว่ารัฐจะมีการประกาศมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะ Social Distancing

ในเยอรมนี, แคนาดา และอังกฤษ ประชาชนมากกว่าครึ่งในกลุ่มภาคบริการเตรยีมจัดการกับเรื่องการระบาดตามลำดับ และความเชื่อมั่นในประเทศฝรั่งเศสมีเพียง 33% เท่านั้นที่เชื่อว่าจะสามารถจัดการได้


· ฝรั่งเศสประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นวงเงิน 4 พันล้านยูโร (4.33 พันล้านเหรียญ) เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องในตลาด รวมถึงช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจรายใหม่

· ราคาน้ำมันดิบปรับสูงขึ้นเป็นวันที่ 3 โดยเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับตลาดการเงินที่มีความหวังว่าสภาคองเกรสสหรัฐฯ จะสามารถผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจงบประมาณมหาศาลเพื่อป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโนนาได้

ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 25.24 เหรียญ/บาร์เรล ในช่วงต้นตลาด และ ล่าสุดเคลื่อนไหวแถวระดับ 24.82 เหรียญ/บาร์เรล คิดเป็นเพิ่มขึ้น 81 เซนต์ หรือ 3.4%

ด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับเพิ่มขึ้น 75 เซนต์ หรือ 2.8% แถว 27.90 เหรียญ/บาร์เรล หลังทำระดับสูงสุดที่ 28.29 เหรียญ


· กลุ่มบริษัทน้ำมันและก๊าซ ทำการหั่นแผนค่าใช้จ่ายเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา และการเพิ่มกำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย

โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงมากกว่าครึ่งตั้งแต่เริ่มต้นปี โดยปัจจุับเคลื่อนไหวแถว 25 เหรียญ ในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซในอเมริกาเหนือมีการปรับลดค่าใช้จ่ายลงประมาณ 30%

บริษัท Norwegian Aker BP (AKER BP) จะทำการเลื่อนเปิดเผยคาดการณ์เพื่อปรับคาดการณ์ใหม่ของปีนี้ พร้อมคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 20% โดยอาจมีค่าใช้จ่ายปีนี้ที่ 1.2 พันล้านเหรียญ และ 400 ล้านเหรียญ

บริษัท Chevron Corp คาดจะปรับลดค่าใช้จ่ายการผลิตน้ำมันในระยะสั้นๆ โดยค่าใช้จ่ายประมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 2 หมื้นล้านเหรียญ

Norway'S DNO ที่เป็นบริษัทที่มีการบริหารจัดการในภูมิภาคอิหร่าน น่าจะทำการลดงบปีนี้ลง 30% หรือประมาณ 300 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของช่วงครึ่งปีแรก

Energean เองก็จะทำการปรับลดสัดส่วนการลงทุนลง 155 ล้านเหรียญ ในประเทศกรีซ และอิสราเอล ที่อาจครอบคลุมถึงงบประมาณในอียิปต์อีก 140 ล้านเหรียญ หากจำเป็นโดยปราศจากการจัดส่ง

ENI ก็มีการประกาศยกเลิกการเข้าซื้อหุ้นคืน และปรับลดสัดส่วนการลงทุน พร้อมถอนเงินเพื่อซื้อหุ้นในปีนี้ออก 400 ล้านยูโร (433.84 ล้านเหรียญ) และกำลังพิจารณาถึงการซื้อน้ำมันดิบหาก Brent ทรงตัวไม่น้อยกว่า 60 เหรียญ/บาร์เรล

ENQUEST ลดเป้าปีนี้ และคาดว่าผลประกอบการจะไม่เป็ฯไปตามคาด จึงปรับลดค่าใช้จ่ายบริษัทน้ำมัลง 30% ที่ 375 ล้านเหรียญ และลดสัดส่วนการลงทุนที่ 80 - 150 ล้านเหรียญ และคาดอาจจะปรับลดกำลังการผลิตอีกในปีหน้า

EXXONMOBIL ส่งสัญญาณปรับลดค่าใช้จ่ายลงสู่กรอบ 3.0 - 3.3 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้็

GENEL คาดอาจต้องการถือเงินสดเพิ่มจึงคาดว่ามีโอกาสเห็นราคาน้ำมันร่วงลงมาแถว 30 เหรียญต่อไป แต่บริษัทเองก็จะทำการปรับลดการลงทุนลงสู่ 60 ล้านเหรียญในปีนี้ แต่คาดว่าอาจสูงถึง 100 ล้านเหรียญได้ ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ก่อนห้าที่เคลื่อนไหวที่ 160 - 200 ล้านเหรียญ


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com