• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 23 มีนาคม 2563

    23 มีนาคม 2563 | SET News

· ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดปรับตัวลงในช่วงผันผวนตลอดสัปดาห์ ท่ามกลางธนาคารกลางทั่วโลกและรัฐบาลต่างๆที่ปล่อยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่ดูจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ดัชนีดาวโจนส์ปิด -913 จุด หรือ -4.55% ที่ 19,173 จุด ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิด -4.34% และ Nasdaq ปิด -3.79%

ตลาดหุ้นทั่วโลกดูจะมีการซื้อขายที่ย่ำแย่ที่สุดตั้งแต่ปี 2008 โดยสัปดาห์นี้ดัชนีดาวโจนส์ปิด -17.3% ขณะที่ S&P500 สัปดาห์นี้ปิด -15% และ Nasdaq ปิด -12.6%

· ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวสูงขึ้นในคืนวันศุกร์ โดยดัชนี Stoxx600 ปิด +1.4% ซึ่งหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและที่พักปรับขึ้นไปกว่า 9% จึงเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่ ตลอดสัปดาห์เคลื่อนไหวอย่างผันผวน แม้ว่าธนาคารกลางต่างๆ และรัฐบาลทั่วโลกจะใช้ทุกวิธีอย่างเหมาะสมเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

· ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันความเชื่อมั่นของเหล่านักลงทุน

ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ร่วงลงมากที่สุด โดยดัชนี Kospi ร่วงลงไป 5.59%

ด้านดัชนี S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย ลดลง 5.73% เนื่องจากตลาดภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ดัชนีทางการเงินลดลงกว่า 7% โดยหุ้นของธนาคารที่เรียกว่าบิ๊กโฟร์ถูกเทขายออกอย่างมาก ด้าน Australia และ New Zealand Banking Groupร่วงลง 7.49%, Commonwealth Bank ของออสเตรเลียลดลง 6.68%, Westpac ลดลง 8.81% รวมทั้งธนาคารแห่งชาติออสเตรเลียลดลง 8.75%

ขณะที่เช้านี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.6% ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.1%

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลง 1.72%

· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 32.40 - 32.60 บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาดู สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในกลางสัปดาห์หน้า

- KKP Research ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลงอีกครั้งจาก -0.4% เป็น -2.4% หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังมีผลกระทบอีกระลอกจากการยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศไทย

- ติดตามภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนก.พ.63 และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 25 มี.ค.นี้ หลังจากที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆทั่วโลกต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมากในการประชุมฉุกเฉินในช่วงที่ผ่านมา

· อ้างอิงจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

-สธ.ยืนยันไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่! ก้าวกระโดด พบ 188 ราย

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 22 มีนาคม2563 นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19ว่าเผย พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 188 ราย อาการหนัก 7 ราย ยอดสะสมรวม 599 ราย กลับบ้านได้ 45 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 553 ราย

- "แบงก์ชาติ" ประกาศ 3 มาตรการ ดูแลความเรียบร้อยในตลาดการเงิน ป้องกันการขาดสภาพคล่อง สกัดประชาชนแห่ไถ่ถอนหน่วยลงทุน

โดยมาตรการแรก เป็นเรื่องเกี่ยวกับกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจมีความกังวลและพากันมาไถ่ถอน ดังนั้น ธปท. จึงได้จัดตั้งกลไกพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับกองทุนรวมผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยที่ ธปท. อนุญาตให้ ธนาคารพาณิชย์สามารถเข้าซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดี โดยที่ธนาคารพาณิชย์สามารถนำหน่วยลงทุนเหล่านี้มาเป็นหลักประกันเพื่อขอสภาพคล่องกับ ธปท. ได้ โดย ธปท.พร้อมดำเนินการต่อเนื่องจนกว่าตลาดเงินเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่กองทุนดังกล่าว จะมีมูลค่ารวมกันมากกว่า 1ล้านล้านบาท ซึ่งเชื่อว่ามีขนาดที่ใหญ่เพียงพอ

มาตรการที่ 2 ถ้ามองไปข้างหน้า พบว่า มีหุ้นกู้เอกชน ตราสารหนี้เอกชนที่จะมีการครบกำหนดไถ่ถอนในแต่ละปีจำนวนหนึ่ง ซึ่งในภาวะปกติ หุ้นกู้เหล่านี้สามารถต่ออายุ(โรโอเวอร์) ได้ไม่ยาก แต่ในภาวะที่ตลาดบางผิดปกติ หลายหน่วยงานตั้งแต่สมาคมธนาคารพาณิชย์ สมาคมธุรกิจประกันภัย ธนาคารออมสิน และ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) จะร่วมกันจัดตั้งกองทุนขึ้นมาใหม่ เรียกว่าเป็น “กองทุนเสริมสภาพคล่อง” เพื่อลดความเสี่ยงการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ วงเงินเริ่มต้น 70,000-100,000 ล้านบาท โดยตอนนี้มีผู้แจ้งความจำนงค์เข้าร่วมแล้ว 80,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนดังกล่าว จะทำหน้าที่ คือ เมื่อมีตราสารหนี้คุณภาพดีครบกำหนดแล้วต้องการโรโอเวอร์ หากระดมทุนได้ไม่ครบ กองทุนนี้จะเข้ามาเสริมในส่วนที่ขาด เพื่อให้ ผู้ออกหุ้นกู้เอกชน สามารถโรโอเวอร์ได้ โดยเงินที่ท็อปอัพเป็นเงินระยะสั้นอายุไม่เกิน 270 วัน

มาตรการที่ 3 เป็นกลไกที่ดูแลตลาดบอนด์ ซึ่งถือเป็นหัวใจของตลาดตราสารหนี้ โดยช่วงที่ผ่านมาบอนด์ยิลด์มีความผันผวนสูงมาก เพราะสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมีความต่างจากช่วงเวลาปกติ ซึ่ง ธปท.พร้อมจะเข้าไปดูแลให้ตลาดบอนด์รัฐสามารถทำงานได้ตามกลไกตลาดที่มีประสิทธิภาพ หากพบว่า ตลาดขาดสภาพคล่อง เราก็พร้อมเข้าไปดูแล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com