• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 มกราคม 2563

    10 มกราคม 2563 | SET News

· ตลาดหุ้นทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประสัติการณ์ เนื่องจากประเด็นความตึงเครียดสหรํบฯ-อิหร่านได้เบาบางลงไป ทำให้เหล่านักลงทุนคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ดัชนี MSCI ที่ไม่รวมหุ้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 0.44% ซึ่งเป็นระดับที่ดี่ทีที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.ปี 2019 ที่ผ่านมา

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยรับแรงหนุนจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เบาบางลง รวมทั้งความหวังเกี่ยวกับการลงนามข้อตกลงเฟสแรกระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ช่วยหนุนผลประกอบการภาคบริษัทต่างๆ

ทั้งนี้ ดัชนี Nikkei เพิ่มขึ้น 0.47% ที่ระดับ 23,850.57 จุด ด้านดัชนี Topix เพิ่มขึ้น 0.82%

ตลาดหุ้นทั่วโลกมีเสถียรภาพอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ทั้งสหรัฐฯและอิหร่านส่งสัญญาณความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม

อย่างไรก็ดี ตลาดจึงกลับไปให้ความสำคัญต่อการลงนามในข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นได้จากความผ่อนคลายความตึงเครียดในตะวันออกลางและสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการลงนามข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนในสัปดาห์หน้า

โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.08% ที่ระดับ 3,092.29 จุด สำหรับภาพรวมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้น 0.28% ซึ่งปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 6 สัปดาห์

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากตลาดฟื้นตัวจากการที่ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบในสหรัฐฯและอิหร่าน โดยดัชนี Stoxx 600 เพิ่มขึ้น 0.3% ด้านกลุ่มท่องเที่ยวและการพักผ่อนเพิ่มขึ้น 1.7% ท่ามกลางตลาดหุ้นส่วนใหญ่ที่เคลื่อนไหวในแดนบวก

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค.62 อยู่ที่ 68.3 จากเดือน พ.ย. 62 ที่อยู่ในระดับ 69.1 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องต่ำสุดในรอบ 68 เดือน จากความกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมือง

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมเดือน ธ.ค.อยู่ที่ 56.0 ลดลงจากเดือน พ.ย.62 ที่อยู่ในระดับ 56.4 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเท่ากับ 64.8 ลดลงจาก 65.4 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 84.2 ลดลงจาก 85.6 เช่นกัน

สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 62 คาดว่าจะขยายตัว 2.5% จากเดิมที่คาดว่า 2.8% ส่วนในปี 63 คาดว่าจะขยยายตัว 2.8% จากเดิมที่คาดไว้ 3.3% เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ผ่านมาหดตัวกว่าที่ประเมินและมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดตามการค้าโลกที่ชะลอลงจากสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีน โดยประเมินการส่งออกไทยปี 62 ติดลบ 3.3% ส่วนปี 63 คาดส่งออกขยายตัว 0.5%, ตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนพ.ย. 62 ลดลง -7.39%, ราคาพืชผลทางการเกษตรยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา และมันสำปะหลัง ส่งผลรายได้ของเกษตรส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้กำลังซื้อทั่วไปในต่างจังหวัดขยายตัวไม่มากนัก

สำหรับปัจจัยที่เป็นปัจจัยบวก ได้แก่ กนง.มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ต่อปี, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเริ่มเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจไทยมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4/62 เติบโตอย่างต่อเนื่อง และสร้างแรงส่งให้เศรษฐกิจในปี 63 ขยายตัวอย่างมีศักยภาพ, เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น แต่ภาพรวมเงินบาทยังแข็งค่ามากกว่าการแข็งค่าของเงินสกุลของประเทศคู่แข่งในปัจจุบัน ยังส่งผลกระทบในเชิงลบกับผู้ส่งออกโดยรวมอยู่เช่นเดิม

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com