• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 16 กันยายน 2562

    16 กันยายน 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ขณะที่สกุลเงิน Safe-haven และสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แข็งค่าตามหลังเหตุโจมตีแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของซาอุดิอาระเบีย ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุปทานน้ำมันทั่วโลก

โดยค่าเงินดอลลาร์แคนาดาแข็งค่า 0.4% แถว 1.3233 ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินโครเนอร์นอเวย๋แข็งค่า 0.5% แถว 8.9363 ดอลลาร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเทศต่างเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ ขณะที่ค่าเงินของประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นปริมาณมาก อย่างรูปีอินเดียอ่อนค่าลงเกือบ 0.7%

ด้านค่าเงินเยนและสวิสฟรังก์ที่เป็น Safe-haven ต่างแข็งค่า โดยค่าเงินเยนแข็งค่า 0.3% แถว 107.79 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินฟรังก์แข็งค่า 0.4% แถว 0.9883 ดอลลาร์ ส่วนราคาทองคำปรับขึ้น 1%

ขณะที่ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงแถว 98.162 ดอลลาร์

ค่าเงินปอนด์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากการส่งสัญญาณความเชื่อมั่นของนายกรัฐมนตรีอังกฤษว่าจะสามารถหาข้อตกลง Brexit กับอียูได้ โดยค่าเงินปอนด์อ่อนค่า 0.3% จากระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์ แถว 1.2486 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่ค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวแถว 1.1073 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินหยวนจีนเผชิญแรงกดดันจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาอ่อนแอ โดยค่าเงินอ่อนค่า 0.25% แถว 7.0631 หยวน/ดอลลาร์
· ค่าเงินยูโรทรงตัวรอความชัดเจนของทิศทาง

ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์เปิดตลาดสัปดาห์นี้ในแดนทรงตัวแถวระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ 1.1070 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินในวันนี้ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆระหว่าง 1.1060 – 1.1070 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งค่าเงินได้ปรับอ่อนค่าลงมาบริเวณนี้จากเดิมแถวระดับ 1.1100 ดอลลาร์/ยูโร ภายหลังจากากรประชุมของอีซีบีเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน

EUR/USD levels to watch

ในช่วงบ่ายวันนี้ ค่าเงินเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงเล็กน้อย ประมาณ 0.02% แถว 1.1069 ดอลลาร์/ยูโร โดยจะมีแนวรับแรกที่ระดับ 1.1053 ดอลลาร์/ยูโร ที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 21 วัน หากหลุดลงมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 1.0925 ดอลลาร์/ยูโร และจากนั้นที่ 1.0839 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนฝั่งขาขึ้น จะมีแนวต้านแรกที่ 1.1109 ดอลลาร์/ยูโร ตามมา ตามมาโดย 1.1163 ดอลลาร์/ยูโร และสุดท้ายที่ 1.1182 ดอลลาร์/ยูโร

· นายหลี เค่าเฉียง รองนายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า น่าจะ “เป็นไปได้ยาก” ที่เศรษฐกิจจีนจะสามารถคงอัตราการขยายตัวไว้ที่ 6% เนื่องจากแรงกดดันจากปัจจัยภายนอกประเทศ

ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอการเติบโตลงต่อจากอัตราเติบโตที่ชะลอตัวที่สุดในรอบ 30 ปีที่ 6.2% ในช่วงไตรมาสที่ 2/2019 ที่ผ่านมา ส่วนทาง Morgan Stanley ระบุว่า อัตราการเติบโตรายปีของเศรษฐกิจจีนน่าจะอยู่ในช่วง 6 – 6.5%

· นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุว่า ความคืบหน้าในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อโอกาสที่อังกฤษจะสามารถหาข้อตกลง Brexit ร่วมกับอียูได้

โดยนายบอริสมีกำหนดการเดินทางไปร่วมประชุมกับนายฌ็อง คล็อค จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมการอียูที่กำลังจะลงจากตำแหน่ง ณ ประเทศลักเซมเบิร์ก ภายในวันนี้ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit และผลการประชุมครั้งนี้จะต่อยอดไปยังการประชุมร่วมกับบรรดาผู้นำอียูในวันที่ 17 - 18 ต.ค.

· อัตราการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปีครึ่ง ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าร่วมกับสหรัฐฯ และปริมาณอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอลง โดยอัตราการผลิตชะลอตัวลงสู่ระดับ 4.4% เทียบกับในเดือน ก.ค. ที่ขยายตัวได้ 4.8%

บรรดานักวิเคราะห์มีมุมมองว่า แม้ภาครัฐบาลจีนจะมีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมาหลากหลาย แต่เศรษฐกิจก็ยังไม่สามารถกลับเข้ามาอยู่ในภาวะสมดุลได้ ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องมีการออกมาตรการใหม่ๆมาเพิ่มมากขึ้น เพื่อรับมือกับทิศทางที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

· รายงานจากหนังสือพิมพ์ Joongang Ilbo ของเกาหลีใต้ระบุว่า นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ มีการเขียนจดหมายเชิญชวนนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาพบกับ ณ กรุงเปียงหยางของเกาหลีเหนือ เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ทางทำเนียบขาว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการยืนยันออกมาแต่อย่างใด

· นายไนเจล ฟาราจ หัวหน้าพรรค Brexit ประจำรัฐสภาอังกฤษ ที่ได้รับฉายาว่า “เจ้าพ่อ Brexit” มีมุมมองว่า Brexit จะถูกเลื่อนออกไปอีก เนื่องจากนายกรัฐมนตรีพยายามที่จะหาข้อตกลงกับอียูในช่วงนาทีสุดท้าย

โดยมองว่า บรรดาผู้นำอียูจะเสนอข้อตกลงบางอย่างให้กับนายกฯอังกฤษในการประชุมวันที่ 17-18 ต.ค. ซึ่งนายกฯจะนำข้อตกลงดังกล่าวมาลงมติในสภาก่อนวันที่ 31 ต.ค. แต่ข้อตกลงนั้นจะประสบความล้มเหลวในการเรียกเสียงสนับสนุน

· ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน S&P Global Platts มีมุมมองว่า ผลกระทบจากเหตุการโจมตี Saudi Aramco แหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของซาอุดิอาระเบีย ทำให้ซาอุฯเสียปริมาณการผลิตน้ำมันไปถึง 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 5% ของปริมาณอุปทานน้ำมันทั่วโลก และหากภาวะนี้ยืดเยื้อออกไปในระยะยาว ราคาน้ำมันก็อาจพุ่งสูงขึ้นถึงระดับ 80 เหรียญ/บาร์เรลได้อย่างง่ายดาย

· นักวิเคราะห์จาก CNBC มีมุมมองว่า สหรัฐฯควรให้การสนับสนุนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของอีซีบี และกดดันให้เยอรมนีออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น โดยใช้การขึ้นภาษีรถยนต์ของเยอรมนีมาเป็นเครื่องมือในการกดดัน

หากสหรัฐฯดำเนินการเช่นนั้น จะช่วยให้เฟดสามารถคลายแรงกดดันไม่ให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าได้ และในขณะเดียวกัน หากเยอรมนีออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ จะช่วยดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในตลาดยุโรป และหนุนให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นได้

· ราคาน้ำมันยังคงเคลื่อนไหวในแดนบวกประมาณ 9% จากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ หลังเหตุโจมตีแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของซาอุดิอาระเบีย ที่ทำให้ซาอุฯสูญเสียการผลิตน้ำมันของประเทศไปถึงครึ่งหนึ่ง

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 9.05% แถว 65.67 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 7.99% แถว 59.23 เหรียญ/บาร์เรล

· WTI technical analysis: มีแรงเข้าซื้อแข็งแกร่งแถวแนวต้านของเทรนขาลง


ราคาน้ำมัน WTI เคลื่อนไหวแถวระดับ 59.70 เหรียญ/บาร์เรล ในช่วงสายของตลาดเอเชียวันนี้ โดยเป็นการปรับขึ้นมาถึง 8.5% ภายใน 24 ช.ม. ทำระดับสูงสุดที่ 60.63 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 15 ก.ค.

ราคาน้ำมันเปิด gap พุ่งสูงขึ้นได้ หลังเกิดเหตุการโจมตีโรงงานผลิตน้ำมันของ Aramco ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในซาอุดิอาระเบีย

ในเชิงเทคนิค วิเคราะห์ได้ว่า ราคาน้ำมันมีทิศทางปรับขึ้นต่อได้ หากราคาสามารถยืนเหนือระดับ 59.89 เหรียญ/บาร์เรลได้จนถึงช่วงปิดตลาดวันนี้ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ราคาจะมีแนวโน้มย่อตัวกลับลงมาที่เส้นแนวต้านเดิม ซึ่งตอนนี้กลายมาเป็นแนวรับที่ 58.73 เหรียญ/บาร์เรล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียออกมาควบคุมความตื่นตะหนกเกี่ยวกับผลกระทบต่ออุปทานน้ำมัน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com