• WGC | แนวโน้มอุปสงค์ทองปี 2019 (ไตรมาส 1-2)

    23 สิงหาคม 2562 | Gold News

ไตรมาสที่ 1/2018

ปริมาณความต้องการทองคำไตรมาสแรกขยายตัวได้ 1,053.3 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบรายปี

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้วจะพบว่าอุปสงค์ทองคำมีการอ่อนตัวลงทำระดับต่ำสุดรอบ 3 ปี ที่ระดับ 984.2 ตัน ท่ามกลางธนาคารกลางที่เข้าซื้อเพิ่มหรือมีการสำรองทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้นที่ 145.5 ตัน ในส่วนของกองทุนETF มีการเติบโตประมาณ 49% หรือ 40.3 ตัน

ภาพรวมการลงทุนในเหรียญทองและทองคำแท่งอ่อนตัวลง -1% ที่ระดับ 257.8 ตัน อันเป็นผลมาจากการร่วงลงของทองคำแท่ง ในขณะที่การเข้าซื้อ Coin เพิ่มขึ้น 12% ที่ระดับ 56.1 ตัน

ในสัดส่วนของจิวเวลรีปรับขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบรายปีอยู่ที่ระดับ 530.3 ตัน โดยได้รับอานิสงส์จากตลาดอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการซื้อขายทองคำที่ใช้ในกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลงทำต่ำสุดรอบ 2 ปีแตะ 79.3 ตัน อันเป็นผลจากภาวการณ์ชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

ทางด้านอุปทานทองคำในไตรมาสที่ 1 ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยปรับลงเพียง 3 ตันเมื่อเทียบรายปี อยู่ที่ระดับ 1,150 ตัน

Highlights

1. ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองคำเพิ่ม 145.5 ตัน ถือเป็นการเพิ่มการถือครองขึ้นมากที่สุดในไตรมาสที่ 1 หรือมีการสำรองทองคำมากที่สุดตั้งแต่ปี 2013

2. ไตรมาสที่ 1 มีปริมาณการถือครองทองคำจิลเวลรีเพิ่มขึ้น 1% โดยได้รับแรงหนุนจากอินเดีย จากช่วงเทศกาลแต่งงานที่ทำให้อุปสงค์จิลเวลรีเพิ่มขึ้นแตะ 125.4 ตัน (+5% เมื่อเทียบรายปี) อันถือเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2015

3. ETFs และสินค้าใกล้เคียงเพิ่มขึ้น 40.3 ตันในไตรมาสแรก โดยกองทุนในสหรัฐฯและยุโรปได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินที่ไหลเข้าท่ามกลางความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง

4. การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองคำปรับลง 1% ที่ระดับ 257.8 ตัน โดยจีนและญี่ปุ่นถือเป็นปัจจัยหลักแห่งการปรับตัวลง เนื่องจากมีปริมาณการลงทุนสุทธิลดลง ประกอบกับมีแรงเทขายเข้ามาในช่วงที่ราคาปรับขึ้นในเดือนก.พ.

5. ราคาทองคำที่ถูกใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ไวเลส และหลอดไฟ LED ร่วงลง 3% ที่ระดับ 79.3 ตัน จากยอดขายที่ซบเซาและความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยี

ไตรมาสที่ 2/2018

ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อประกอบกับมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่กองทุน ETF เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก โดยที่อุปสงค์ทองคำในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 1,123 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งภาพรวมครึ่งปีแรกมีปริมาณความต้องการทองคำเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 3 ปี แตะระดับ 2,181.7 ตัน ซึ่งเป็นระดับการเข้าซื้อที่เพิ่มมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

การเข้าซื้อของบรรดาธนาคารกลางและเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF ดูจะผลักดันให้ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้สดใส ท่ามกลางปริมาณการขยายตัวของอุปสงค์จิลเวลรีจากกลุ่มผู้บริโภคอินเดียที่เป็นไปในเชิงบวก ขณะที่การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองก็ค่อนข้างสอดคล้องกับระดับราคา โดยจะเห็นได้ว่าราคาทองคำมีการปรับขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบหลายปี ประกอบกับมีแรงเทขายทำกำไรเข้ามาในตลาดรวมทั้งภาคการลงทุนในส่วนค้าปลีก ทางด้านภาคเทคโนโลยีปรับตัวลงจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจทั่วโลก แม้ว่าจะมีแนวโน้มอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม ทางด้านการเติบโตในกลุ่มเหมือนผลิตทองคำและการสกัดทองเก่าก็เพิ่มขึ้นทำให้อุปทานทองคำครึ่งปีแรกปรับตัวขึ้น



1. ธนาคารกลางมีการเข้าซื้อทองคำช่วงไตรมาสที่ 2/2019 เพิ่มขึ้นแตะ 224.4 ตัน โดยช่วงครึ่งปีแรกมีการซื้อเข้าทั้งหมด 374.1 ตัน ซึ่งถือเป็นการเข้าถือครองทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบกว่า 19 ปี จากการเก็บข้อมูลรายไตรมาส

2. กองทุน ETF มีการเพิ่มการถือครอง 67.2 ตันในไตรมาส 2 ทำระดับสูงสุดรอบ 6 ปีที่ 2,548 ตัน โดยมีปัจจัยหลักมาจากเม็ดเงินที่เข้าสู่ตลาดจากสภาวะความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ประกอบกับการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด และการฟื้นตัวของราคาทองคำในเดือนมิ.ย.

3. การฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของตลาดจิลเวลรีอินเดียช่วยหนุนให้อุปสงค์ทองคำไตรมาสที่ 2/2019 เพิ่มขึ้น 12% ที่ระดับ 168.8 ตัน อันได้รับอานิสงส์จากเทศกาลแต่งงานที่ช่วยหนุนยอดขายเพิ่มขึ้น ก่อนที่ราคาเดือนมิ.ย. จะปรับตัวขึ้นไป ซึ่งอุปสงค์ทองคำในอินเดียถือเป็นปัจจัยหนุนให้อุปสงค์จิลเวลรีทั่วโลกปรับขึ้นไป 2% เมื่อเทียบรายปี แตะ 531.7 ตัน

4. การลงทุนในทองคำแท่งและเหรียญทองไตรมาส 2 ลดลง 12% แตะ 218.6 ตัน จากการอ่อนตัวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 1 จึงทำให้ภาพรวมครึ่งปีนี้ทำระดับต่ำสุดรอบ 10 ปีที่ 476.9 ตัน หรือปรับลงไปกว่า 29% เมื่อเทียบรายปี โดยจีนถือเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดให้เกิดการปรับตัวลงในไตรมาสที่ 2

5. อุปทานทองคำปรับตัวขึ้น 6% ในไตรมาสที่ 2 แตะ 1,186.7 ตัน ซึ่งการผลิตทองคำในเหมืองของไตรมาสที่ 2 ทำระดับสุงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 882.6 ตัน และการนำทองเก่ากลับมาใช้ใหม่ปรับขึ้น 9% แตะ 314.6 ตัน โดยได้รับอานิสงส์จากการปรับขึ้นของราคาทองคำนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. ที่ส่งผลต่อภาวะอุปทาน โดยช่วงครึ่งปีแรกอุปทานทองคำแตะ 2,323.9 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2016

6. ราคาทองคำทำระดับสูงสุดรอบหลายปี โดยที่ราคาสามารถยืนเหนือ 1,400 เหรียญได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2013 ท่ามกลางปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ทั้งจากกระแสเฟดปรับลดดอกเบี้ยและความไม่แน่นอนทางการเมือง และการเข้าซื้อจากธนาคารกลางต่างๆทั่วโลก

ที่มา: World Gold Council 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com