• หากดอลลาร์อ่อนค่า ใครได้ผลประโยชน์?

    22 กรกฎาคม 2562 | Economic News
  

ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ค่าเงินดอลลาร์คงอยู่ในทิศทางแข็งค่ามาได้ตลอดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยมีปัจจัยหนุนอยู่ 3 ประการ คือ

1. สถานการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯที่ดีขึ้นในช่วงปี 2010 – 2016

2. การคุมเข้มทางนโยบายการเงินที่มากกว่าประเทศอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 2016

3. การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับยุโรปและญีปุ่น โดยเฉพาะในช่วงปี 2011 – 2013 และตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนอย่างแรกเริ่มที่จะอ่อนกำลังลงไปตั้งแต่ปี 2017 เมื่อยอดเกินดุลของรัฐบาลสหรัฐฯขยายตัวจากระดับ 2.2% ของ GDP ในปี 2016 สู่ระดับ 4.7% ในช่วงกลางปี 2019 และถึงแม้สหรัฐฯจะมีการใช้นโยบายกีดกันการค้า ยอดขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯกลับยิ่งขยายตัวจาก 2.5% สู่ระดับ 3.0% ส่งผลให้ยอดขาดดุลคู่ หรือ ““Twin deficits” ขยายตัวจาก 4.7% สู่ระดับ 7.7%

กราฟที่ 1 : ค่าเงินดอลลาร์มักเคลื่อนไหวตาม Twin deficits


ตลาดกำลังมีกระแสคาดการณ์ว่า เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยลงมากถึง 4 ครั้งภายในปีหน้า (กราฟที่ 2) แม้เฟดจะยังไม่ได้เริ่มปรับลดดอกเบี้ยลงจริงๆ เพียงแต่ส่งสัญญาณว่าจะดำเนินการในเร็วๆนี้เท่านั้น ไม่ว่าจะอย่างไร นโยบายการเงินของเฟดจะไม่เป็นปัจจัยที่หนุนค่าเงินดอลลาร์ในปีต่อๆไป เว้นแต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสคาดการณ์อย่างมีนัยยะสำคัญ

กราฟที่ 2: ตลาดคาดการณ์ เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยลง 0.75 – 1.00% ภายในปีหน้า


ทั้งนี้ หากค่าเงินดอลลาร์หยุดทิศทางแข็งค่า และอ่อนค่าลงในช่วงปี 2020 ค่าเงินสกุลไหนจะเป็นฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด?



1. ปอนด์อังกฤษ (GBP): ปัจจุบัน ค่าเงินปอนด์กำลังอ่อนค่าอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์หรือยูโร เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับ Brexit บรรดานักลงทุนกำลังกังวลกับความเป็นไปได้ที่เลวร้ายที่สุด คือการถอนตัวออกจากอียูแบบไร้ข้อตกลง ตามกำหนดการคือวันที่ 31 ต.ค. 2019 อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว อังกฤษก็มีโอกาสที่จะกลับมาเจรจากับอียูอีกครั้ง แม้จะถอนตัวออกไปแล้วก็ตาม จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อตกลงทางการค้าขึ้นภายหลัง และค่าเงินปอนด์ก็จะแข็งค่ากลับขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่ง



2. เยนญี่ปุ่น (JPY): ธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจมีการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับติดลบ และจงใจปล่อยให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงในช่วงทตศวรรษที่ผ่านมาด้วยการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษ (QE) ส่งผลให้พอร์ตงบดุลของธนาคารกลางมีขนาด 100% เท่ากับ GDP ประเทศ มากเป็น 2 เท่าของธนาคารกลางยุโรป และ 4 เท่าของเฟด เมื่อพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจ ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มชะลอการเติบโต ดังนั้นญี่ปุ่นจึงไม่ต้องการค่าเงินเยนที่แข็งค่าแม้แต่น้อย



3.ยูโร (EUR): ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจยูโรโซนเผชิญอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวอยู่แถว 1% ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯและอังกฤษถึง 1% เศรษฐกิจยูโรจึงเหมือนกันญี่ปุ่น ที่ไม่ต้องค่าเงินที่แข็งค่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าค่าเงินยูโรจะแข็งค่าขึ้นทันทีที่ดอลลาร์อ่อนค่าลง เนื่องจากระบบการเงินของยูโรโซนกำลังประสบปัญหา จากอัตราดอกเบี้ยที่ 0.40% ซึ่งคิดเป็นภาษีของภาคธนาคารกลางที่มีมูลค่าถึง 7.5 พันล้านเหรียญ จึงไม่แปลกที่ภาคธนาคารกำลังประสบความยากลำบาก อีกทั้งเครดิตก็ไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้า แม้จะมีการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำเป็นพิเศษก็ตาม



4. รูปีอินเดีย (INR): ค่าเงินรูปีมีแนวโน้มจะกลายเป็นค่าเงินที่มีผลประกอบการดีที่สุดจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ เนื่องจากเศรษฐกิจอินเดียที่เน้นไปยังภาคบริการสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่แตกต่างกับจีน ตรงที่อินเดียมีอัตราหนี้สินที่ต่ำ และไม่เหมือนกับบราซิลหรือรัสเซีย เนื่องจากอินเดียเป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภันฑ์รายใหญ่ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอินเดียยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับทั่วโลก



5. หยวนจีน หรือ เหรินหมินปี้ (RMB) : แตกต่างกับปอนด์ เยน และ ยูโร ค่าเงินหยวนดูจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สักเท่าไหร่ เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้า จีนมีแนวโน้มสูงที่จะเผชิญกับภาวะอัตราเติบโตของประชากรวัยทำงานที่ติดลบ และอัตราการย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมืองที่ชะลอตัวลง อีกทั้งจีนยังมีภาวะหนี้สินที่หนักหน่วง การที่หยวนมีความเกี่ยวข้องกับดอลลาร์ค่อนข้างมาก จึงเป็นไปได้สูงว่า หากดอลลาร์อ่อนค่าลงในช่วงปี 2020 หยวนก็จะอ่อนค่าลงตาม



โดยสรุป

- ดอลลาร์อาจอ่อนค่าลงจากยอดเกินดุลที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และการเติบโตที่ชะลอตัว

- เงินปอนด์อ่อนค่าจากภาวะ Brexit แต่มีโอกาสแข็งค่าขึ้นในระยะยาว

- มีความเป็นไปได้ต่ำที่ธนาคารกลางจะกดดันให้ยูโรและเยนอ่อนค่าลงไปมากกว่านี้

- ในบรรดาตลาดเกิดใหม่ อินเดียน่าจะได้รับผลประโยชน์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์มากที่สุด เนื่องจากอัตราหนี้สินที่ต่ำ และมีการนำเข้าสินค่าโภคภันฑ์ที่แข็งแกร่ง

- หยวนมีแนวโน้มอ่อนค่าตามดอลลาร์



ที่มา: CME Group

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com