• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 มิถุนายน 2562

    21 มิถุนายน 2562 | Economic News

· ดอลลาร์อ่อนค่าลงในวันนี้ และอาจเรียกได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุดของดอลลาร์ หลังจากที่เฟดได้ทำการประสานเสียงที่จะผ่อนคลายทางการเงินและมีแผนที่จะปรับลดดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะที่การปรับอ่อนค่าของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวอายุ 10 ปีของสหรัฐฯที่ต่ำกว่า 2% และการที่ราคาทองคำพุ่งขึ้นเหนือระดับสำคัญทางเทคนิคใกล้จุดสูงสุดเดิมในรอบเกือบ 6 ปี ก็ดูจะเป็นปัจจัยที่ยิ่งกดดันให้ทองคำยิ่งเผชิญแรงเทขายเข้ามาอย่างหนัก

ณ ขณะนี้ ตลาดให้ความสนใจและพุ่งประเด็นไปยังการหาทางแก้ไขทางการค้าของสหรัฐฯและจีนในการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ที่จะเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นสัปดาห์ แต่นักลงทุนก็มีการกล่าวเตือนให้ระมัดระวังต่อโอกาสที่การตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ เพราะยังคงยากที่จะคาดเดาต่อผลลัพ์ที่จะเกิดขึ้นและอาจก่อให้เกิดการทำ Short ในค่าเงินดอลลาร์เพิ่มตามมาได้

• ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงมาแตะ 96.586จุด ขณะที่สัปดาห์นี้ร่วงลงมาแล้วประมาณ 1% และเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าไปแล้วกว่า 1.4% ซึ่งเป็นอัตราเปอร์เซ็นที่แย่ที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค.

· FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนทำระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 5 เดือนแถว 107 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางสภาวะ Risk-Off ในตลาดหุ้นเอเชียและสหรัฐฯ ท่ามกลางภาวะตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านที่ปะทุเดือดขึ้น ทำให้ตลาดเมินข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น

ด้าน RSI ส่งสัญญาณ Oversold และมีการเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 30 ในภาพรายวันและราย 4 ชม. โดยหากค่าเงินเยนร่วงหลุดต่ำกว่า 107.5 จุด มีโอกาสร่วงลงต่ำกว่า 107 จุด

· นายมาซัตซูกุ อาซากาว่า รองรัฐมนตรีกระทรวงการคลังระหว่างประเทศของญี่ปุ่น แสดงความเป็นกังวลว่าหากอัตราค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยจะเห็นได้จากตลาดพันธบัตรและค่าเงินมีการเคลื่อนไหวตอบรับกับกระแสคาดการณ์ที่เฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยเร็วที่สุดในเดือนหน้า และหากเฟดมีการปรับลดดอกเบี้ยจริงเพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ให้เข้าสู่ภาวะขาลงก็ดูจะเป็นผลดี แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจจะดีตาม และนี่เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นไม่มีทางเลือกแต่เป็นสิ่งที่เรากำลังกังวล

· รายงานจาก The New York Times ระบุว่า ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านดูจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการอนุมัติทางการทหารในการโจมตีพุ่งเป้าไปที่อิหร่าน แต่ก็ยังไม่ได้ทำการเปิดฉากหรืออนุมัติคำสั่งแต่อย่างใด โดยสหรัฐฯจะใช้ความรอบคอบในการดำเนินการใดๆ

· ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำคนใหม่ในการจัดการกับปัญหา Brexit มี 2 รายชื่อผู้ท้าชิงคือ นายบอริส จอห์นสัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ และนายเจเรมี ฮันท์ ซึ่งเป็นพเยงสองคนที่ถูกเสนอชื่อเลือกนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนต่อไป และดูเหมือนายจอห์นสันจะมีคะแนนนิยมนำมากกว่าและน่าจะได้ดำรงตำแหน่งในเดือนหน้า

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าใครจะได้รับชัยชนะในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ ก็จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาความวุ่นวายกรณี Brexit ให้ได้ เพราะถือเป็นวิกฤตครั้งสำคัญทางการเมืองหลังจากที่นางเมย์ ได้ดำรงตำแหน่งมาตลอดช่วง 3 ปี และสุดท้ายปัญหาดังกล่าวก็ทำให้เธอต้องยอมพ่ายแพ้สละตำแหน่ง

· นายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารอังกฤษ ระบุว่า หนึ่งในบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯอังกฤษ อย่างนายบอริส จอห์นสัน มีแนวคิดจะหลีกเลี่ยง Brexit ได้ด้วยข้อตกลง No-Deal ซึ่งการออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงในช่วงเปลี่ยนผ่านใดๆ ก็ดูจะเป็นสัญญาณแน่ชัดแล้วว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอังกฤษเช่นไร ซึ่งในระยะยาวและระยะสั้นดูเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบจาก No-Deal ขณะที่ภาคบริษัทหลายแห่งก็ไม่ได้พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้

· รายงานจาก Reuters ระบุว่า นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ออกเดินทางเยือนเกาหลีเหนือในช่วง 2 วันนี้

· นายมัตเตโอ ซัลวินี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ประกาศจะทำการลาออกจากรัฐบาล ยกเว้นแต่เขาจะสามารถผลักดันแผนปรับลดภาษีของเขาได้อย่างน้อย 1 หมื่นล้านยูโร (1.1 หมื่นล้านเหรียญ)

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้ในช่วงก่อนหน้านี้ แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ราคาน้ำมันดิบ Brent ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลางและกระแสคาดการณ์ว่าเฟดจะทำการลดดอกเบี้ยที่อาจกระตุ้นการเติบโตของโลก

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.31% ที่ระดับ 64.25 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.28% ที่ระดับ 56.90 เหรียญ/บาร์เรล

· รองประธานด้านการให้คำปรึกษาด้านพลังงานของสิงคโปร์ประจำ IHS Markit ระบุว่า การขึ้นและลงของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงสภาพความไม่แน่นอนในตลาดน้ำมัน ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันที่ชะลอตัวลงเนื่องจากความขัดแย้งทางการค้า

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com