• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2562

    12 มิถุนายน 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ท่ามกลางแรงกดดันจากกระแสคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆสำหรับกาประชุมสัปดาห์หน้า ขณะที่บรรดาสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงต่างปรับอ่อนค่าลงท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้า


ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% แถว 96.64 จุด เคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 96.46 จุด ซึ่งลงไปเมื่อสัปดาห์ก่อน




· นักวิเคราะห์จากสถาบัน ADSS มีมุมมองว่า ภาวะสงครามการค้าที่เลวร้ายที่สุด คือการที่ความขัดแย้งยังดำเนินต่อไปอย่างไม่รู้จบ และถึงแม้ทางรัฐบาลของทั้งสหรัฐฯและจีน จะพยายามโน้มน้าวตลาดว่าพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบจาอสงครามการค้า แต่อัตราการเติบโตของทั้งสหรัฐฯและจีน ต่างก็ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง



· ความกังวลในสงครามการค้าเป็นปัจจัยกดดันให้ค่าเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลดลง อย่างออสเตรเรียดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง 0.3% เมื่อเทียบกับคสวัสฟรังก์ ขณะที่ค่าเงินเยนที่สินทรัพย์ปลอดภัยสามารถปรับแข็งค่าขึ้น 0.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ




· เครื่องมือ Fed watch ของ CME Group มองโอกาส 18% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์หน้า และโอกาส 68% ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ค.



· สำหรับคืนนี้ นักลงทุนจะจับตาการประกาศดัชนี CPI และ Core CPI ของสหรัฐฯ เพื่อหาสัญญาณของทิศทางเงินเฟ้อ โดยดัชนี Core CPI เดือน พ.ค. ถูกคาดว่าจะประกาศออกมาที่ระดับ 1.9% เทียบกับของเดือน เม.ย. ที่ระดับ 2%

นักกลยุทธ์จาก MUFG มีมุมมองว่า การประกาศดัชนี CPI ในคืนนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อมุมมองของเฟดที่มีต่อเงินเฟ้อว่ายังคงชะลอตัวมากนัก



· ด่านค่าเงินยูโรทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์ แถว 1.1360 ดอลลาร์/ยูโร โดยเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนที่ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งขึ้นไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา



· นักวิเคราะห์ FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวสะสมพลังเหนือ 1.13 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนทราบถ้อยแถลงของประธานอีซีบี และการประกาศข้อมูลสำคัญของสหรัฐฯในคืนนี้ อันได้แก่ CPI ซึ่งภาพรวมระยะสั้นหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯดังกล่าวออกมาดีขึ้นกินคาดก็อาจส่งผลให้ยูโรอ่อนตัวลงได้

ภาพทางเทคนิคยืนยันถึงภาวะแข็งค่าได้หลังจากที่ Breakout ขึ้นมายืนเหนือ 1.1348 ดอลลาร์/ยูโร ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ภาพทางเทคนิคก็ดูจะเป็นการขึ้นได้อย่างจำกัดหลังจากที่ราคาทรงตัวแถว 1.1340 ดอลลาร์/ยูโร



· หัวหน้านักกลยุทธ์ FX จาก Morgan Stanley กล่าวว่า กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อหุ้นในตลาดมีท่าทีระมัดระวังหลังจากที่นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดส่งสัญญาณย้ำถึงการจะหาวิธีรับมือกับสงครามการค้า จึงทำให้นักลงทุนจับตาต่อสัญญาณเตือนดังกล่าว ขณะที่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมีตลาดพันธบัตรก็เผชิญกับภาวะผกผัน จึงทำให้หลายคนมองว่า การดำเนินนโยบายของเฟดในอนาคตหรือการปรับลดดอกเบี้ยนั้นอาจไม่ช่วยบรรเทาผลกระทบได้



· รายงานจาก NEWEUROPE ระบุว่า อีซีบีพร้อมที่จะทำการปรับลดดอกเบี้ยและมีการย้ำถึงการจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลครั้งใหม่ในช่วงปลายเดือนก.ย. - ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่อีซีบีคาดหวังว่าจะช่วยลดความกังวลจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยูโรโซนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

นายมาริโอ้ ดรากี้ ประธานอีซีบี ค่อนข้างส่งสัญญาณที่ชัดเจนต่อมาตรการการดำเนินการทั้งหมดของอีซีบีที่จะถูกนำมาใช้ ตั้งแต่การขับเคลื่อนภาคการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนเผชิญกับสภาวะชะลอตัว ตั้งแต่เยอรมนี ที่เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกลำดับที่ 4 ที่ดูมีสัญญาณไม่ค่อยดนักในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับปัญหาด้านงบประมาณของอียูและอิตาลีล่าสุด รวมทั้งกรณี ฺBrexit ด้วย

การที่อีซีบีลดการเข้าซื้อพันธบัตร (QE) ไปจำนวน 2.6 ล้านล้านเหรียญในช่วงสิ้นปีที่แล้ว เพื่อสนับสนุนความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจนั้น ล่าสุดทางอีซีบีก็ได้มีการกล่าวถึงความจำเป็นที่จะขยายเวลาการเข้าซื้อพันธบัตรอีกครั้งเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินของยูโรโซน

อย่างไรก็ดี อีซีบีไม่คิดว่าปีนี้ เศรษฐกิจยูโรโซนจะเผชิญกับสภาวะเงินฝืดหรือสภาวะถดถอย แต่นายดรากี้ก็มีความชัดเจนว่านโยบายดอกเบี้ยนั้นมีโอกาสที่จะปรับลดลงได้




· รายงานจาก Bloomberg ระบุว่า สมาชิกอีซีบีจำนวน 2 ราย มีการส่งสัญญาณว่า อีซีบีมีความตั้งใจที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและกลับมาเข้าซื้อพันธบัตรใหม่หากจำเป็น

ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางฟินแลนด์ และผู้ช่วยของเขา กล่าวถ้อยแถลงในเชิงที่ อีซีบีพร้อมที่จะต่อสู้กับภาวะชะลอตัวและปัจจัยคุกคามที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อของยูโรโซนมีการร่วงลงทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แม้ว่าอีซีบีจะตัดสินใจคงดอกเบี้ยไว้เมื่อไม่นานมานี้ แต่ทางอีซีบีก็พร้อมที่จะปรับการใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีให้เป็นไปอย่างเหมาะสม



· นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบีคนปัจจุบัน กำลังจะหมดวาระลงในเดือน ต.ค. ปีนี้ ท่ามกลางตลาดที่กำลังตั้งคำถามว่า ใครควรขึ้นมาเป็นผู้นำอีซีบีคนต่อไป และผู้นั้นจะมีสติปัญญา ความยืดหยุ่น และความกล้าหาญในการผลักดันเศรษฐกิจยูโรโซน เหมือนกับนายดรากี้หรือไม่




ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความผันผวน ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนยังอยู่ในระดับต่ำ และการใช้นโยบายการเงินแบบปกติเริ่มเข้าใกล้ขีดจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงยิ่งสะท้อนถึงความจำเป็นที่ทางธนาคารกลางควรเร่งหานโยบายใหม่เข้ามาช่วยกระตุ้นตลาด และนั่นก็จะเป็นที่ผู้นำอีซีบีคนใหม่ถูกคาดหวังไว้

อย่างไรก็ตาม ในบรรดาผู้มีสิทธิ์ชิงตำแหน่งประธานอีซีบีคนต่อไป ดูผ่านๆแล้วไม่มีผู้ใดสามารถเทียบเท่ากับมาตรฐานที่ถูกนายดรากี้ยกขึ้นไปซะสูงได้แม้แต่คนเดียว สำหรับตัวเลือกที่ดูจะเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ก็คือนายเจนส์ เวียดแมน (Jens Weidmann) ประธานธนาคารกลางเยอรมนี ซึ่งเขาเป็นผู้ที่ต่อต้านการดำเนินนโยบายของนายดรากี้หลายต่อหลายครั้งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษ แม้ทางคณะกรรมการของอีซีบีอาจช่วยโน้มน้าวเขาได้ แต่ก็เป็นตัวเลือกที่เสี่ยงที่สุดอยู่ดี

อีกหนึ่งความเป็นไปได้ ในกรณีที่นายเจนส์ขึ้นมาเป็นผู้นำอีซีบี คือการที่เขาเผยมุมมองของธนาคารกลางเยอรมนีที่มีต่อเศรษฐกิจยูโรโซนให้เป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำภายใต้การดูแลของอีซีบี ยิ่งกว่าตอนที่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารกลางเยอรมนี รวมถึงชี้ให้เห็นว่า อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำทั้งคู่ จะไม่ทำให้เงินเก็บมีมูลค่าต่อเศรษฐกิจเท่าที่ควร

และประเด็นสุดท้าย คือการที่นายเจนส์กล่าวถึง ภาคเอกชนของเยอรมนีที่มีเงินเก็บสำรองอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบอัตราส่วนกับภาคเอกชนของญี่ปุ่น อีกทั้งตลาดแรงงานของเยอรมนีที่มีการจ้างงานอิ่มตัวและมียอดเกินดุลการค้าอยู่ในระดับสูง อาจเป็นเพราะรัฐบาลเยอรมนีกำลังมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่อย่างมหาศาล ซึ่งกรณีดังกล่าวจะทำให้เยอรมนีดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างลำบากหากพวกเขาอยู่นอกอียู หากเป็นเช่นนั้น เศรษฐกิจเยอรมนีก็น่าจะอยู่ในภาวะเงินฝืด และแหล่งผลิตของสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ก็จะถูกย้ายออกไปมากขึ้น ส่งผลให้นโยบายการเงินของเยอรมนีอาจมาคล้ายกับนโยบายของญี่ปุ่น




· เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 สัปดาห์ ก่อนการประชุม G-20 ที่จะเกิดขึ้น ณ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 28-29 มิ.ย. นี้ อย่างไรก็ตาม กระแสคาดการณ์ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน จะสามารถมาพบกันโดยตรงอีกครั้งได้นั้น เริ่มที่จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

ขณะที่รัฐบาลของแต่ละฝ่าย ก็ยังคงไม่มีการยืนยันเกี่ยวกับการพบกันของ 2 ผู้นำ ท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากสงครามการค้าที่เลวร้ายลงทุกขณะ

นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศว่า การเตรียมการจัดการประชุมร่วมกันอีกครั้ง กำลังดำเนินไปอย่างจำกัดและยากลำบาก เนื่องจากแต่ละฝ่ายต่างมีท่าทีกีดกันต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่การประชุมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. จบลงได้ไม่ค่อยดีนัก



· ศาสตราจารย์จาก Harvard University เตือน การกู้ยืมของประเทศจีนมักจะถูกดำเนินการอย่างลับๆ ดังนั้นปริมาณหนี้สินที่แท้จริงแต่ถูกปิดบังอยู่ของประเทศจีน อาจมีสูงกว่าที่ตลาดคาดคิด และนั่นก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่กดดันให้เศรษฐกิจจีนชะลอการเติบโตมากกว่าที่คาด

ความไร้ซึ่งความโปร่งใสของรัฐบาล มักจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่กำลังพิจารณาจะเข้าซื้อพันธบัตรที่ออกโดยประเทศเหล่านั้น ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจรุกรามไปถึงองค์กรระดับโลกอย่าง IMF หรือ World Bank ที่พยายามช่วยเหลือปัญหาด้านหนี้สินของประเทศเหล่านั้น

ดังนั้น การปกปิดหนี้สินของประเทศ อาจนำไปสู่กรณีที่นักลงทุนสูญเสียความเชื่อมั่น และตัดสินใจเลี่ยงการถือครองพันธบัตรจากประเทศเหล่านั้น ซึ่งพันธบัตรเป็นที่จำเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่หนี้สินที่ถูกปกปิดเหล่านั้น ถูกเปิดโปงขึ้นมาอย่างกระทันหัน จะทำให้เกิดกระแสความไม่นอนแน่ของเศรษฐกิจขึ้นได้อย่างรุนแรง



· ความตึงเครียดทางการเมืองในฮ่องกงพุ่งถึงขีดสุด ท่ามกลางการประท้วงของประชาชนหลายแสนคน นับตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลพยายามผลักดันร่างกฏหมายที่จะอนุญาตให้สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังประเทศจีน ขณะที่ทางกรมตำรวจเริ่มส่งสัญญาณว่าจะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม หากการชุมนุมขยายตัวรุนแรงไปมากกว่านี้




· รายงานจาก CNBC ระบุว่า บริษัท Huawei มีการยกเลิกการเปิดตัวแล็ปท็อปตัวใหม่ หรือ Matebook อย่างไม่มีกำหนด อันเป็นผลมาจากการทำธุรกิจกับบรรดาซับพลายเออร์ของสหรัฐฯ หลังจากที่บริษัทถูกสหรัฐฯทำการขึ้นบัญชีดำในการถูกจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยีของสหรัฐฯ



· รองโฆษกกระทรวงพลังงาน ระบุว่า สหรัฐฯจะคงกำลังการผลิตน้ำมันหรือเพิ่มกำลังการผลิต แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวลง และมีสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยสหรัฐฯจะเดินหน้าผลิตน้ำมันที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 12 ล้านบาร์เรล/วันตลอดจนปีหน้า และอาจเพิ่มเป็น 13 ล้านบาร์เรล/วันได้




· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงกว่า 1% โดยได้รับแรงกดดันจากการอ่อนตัวของแนวโน้มอุปสงค์น้ำมัน และการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีกระแสคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกจะเดินหน้าปรับลดอุปทานน้ำมัน


น้ำมันดิบ Brent ปรับลงประมาณ 87 เซนต์ หรือ -1.4% ที่ 61.42 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน WTI ปรับลง 85 เซนต์ หรือ -1.6% ที่ 52.41 เหรียญ/บาร์เรล



Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com