• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 17 พฤษภาคม 2562

    17 พฤษภาคม 2562 | Economic News


· ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจแข็งแกร่งของสหรัฐฯ รวมทั้งการรีบาวน์ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.836 จุด หลังจากไปทำ High วานนี้ที่ 97.882 จุด

· นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก IG Securities กล่าวว่า ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ค่าเงินยูโรกับค่าเงินปอนด์ก็ยังถูกกดดันในทิศทางขาลง จากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยูโรโซน ประกอบกับความกังวลทางการเมืองอิตาลี ขณะที่ Brexit กดดันค่าเงินปอนด์

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งรัฐสภาอียูระหว่างวันที่ 23-26 พ.ค. หากพรรคขวาจัดของอิตาลีได้รับคะแนนเสียงเพียงพอที่จะเข้าไปดำรงในสภาฯก็มีโอกาสเห็นอิตาลีดำเนินการแก้ไขข้อตกลงของอียูทีเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ

· ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1178 ดอลลาร์/ยูโร หลังร่วงลงไปทำระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่ 6 พ.ค. ที่ 1.1166 ดอลลาร์/ยูโรเมื่อวานนี้


· ค่าเงินปอนด์เผชิญกับ Brexit ที่มีความเป็นไปได้ว่านางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะไม่สามารถผลักดันข้อตกลงของเธอได้ จึงทำให้เงินปอนด์ร่วงลงไปแถว 1.2783 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 3 เดือน และภาพรวมสัปดาห์นี้อ่อนค่าไปกว่า 1.6%

· ค่าเงินหยวนอ่อนค่าหลุดระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 6.9 หยวน/ดอลลาร์ ทำระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน แต่การอ่อนค่าถูกจำกัด หลังธนาคารกลางจีนออกมายืนยันว่าจะทำการเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินอ่อนค่าไปมากกว่าระดับ 7 หยวน/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ค่าเงินหยวนได้อ่อนค่าติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 รวมมากกว่า 2.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา

· นักวิเคราะห์จากระบุว่า การอ่อนค่าหลุดระดับ 7 หยวน/ดอลลาร์ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจจีน เนื่องจากจะสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯได้ แต่ผลเสียที่ตามมาคือความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง และจะทำให้เกิดภาวะเม็ดเงินลงทุนไหลออกจากตลาด

USD/JPY ไม่ผ่านแนวต้าน 110.00 ขณะที่ S&P 500 futures เคลื่อนไหวแดนลบ


· ค่าเงินดอลลาร์เมื่อกับเยน (USD/JPY) ที่กำลังเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นเริ่มสูญเสียกำลังหลังทดสอบแนวต้าน 110 ไม่ผ่านมา ก่อนที่จะย่อตัวลงมาบริเวณ 109.85 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางดัชนี S&P 500 futures ที่เคลื่อนไหวในแดนลบ บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ตลาดจะเข้าสู่ภาวะ Risk-off และหันไปจับตาการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวสูงกว่าระดับสูงสุดของเมื่อ 3 วันก่อนที่ 109.70 เยน/ดอลลาร์ แต่เริ่มสูญเสียกำลังแถวเส้น 50% retracement ที่ระหว่าง 110.95 และ 109.01 เยน/ดอลลาร์ ทั้งนี้ ค่าเงินมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวตามทิศทางขาขึ้นในลักษณะปรับฐานต่อ เนื่องจากค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวสูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วันได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 1 เดือน แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆ ที่ยังแคลื่อนไหวในทิศทางขาลง ขณะที่เส้น RSI เริ่มสูญเสียแรงในทิศทางขาขึ้นและทรงตัวแถว 55 จุด ดังนั้น ค่างเนจำเป็นต้องผ่านแนวต้านที่ 110.10 เยน/ดอลลาร์ ไปก่อนถึงจะมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก แต่ถ้าหลุดต่ำกว่าแนวรับ 109.45 เยน/ดอลลาร์ ภาพรวมจะกลับเป็นขาลง

EUR/USD เผชิญแรงกดดัน ท่ามกลางความกังวลว่าการเจรจาสหรัฐฯ-จีนอาจล้มเหลว

· ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์เคลื่อนไหวในแดนลบ หลังจากหลุดต่ำกว่าเส้นแนวรับของเทรนขาขึ้นระยะสั้นไปเมื่อวานนี้ และมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงไปบริเวณ 1.1150 ดอลลาร์/ยูโร ท่ามกลางสินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่ที่เผชิญแรงกดดันหลังมีรายงานว่า จีนอาจไม่สนใจที่จะดำเนินการเจรจาการค้าร่วมกับสหรัฐฯอีกต่อไป

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงจาก 1.1220 ดอลลาร์/ยูโร ลงมาที่บริเวณ 1.1166 ดอลลาร์/ยูโร และปิดตลาดต่ำกว่าเส้นเทรนที่เชื่อมจากระดับต่ำสุดของวันที่ 26 เม.ย. กับวันที่ 3 พ.ค. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับสูงขึ้นจาก 2.36% สู่ระดับ 2.41% ท่ามกลางความแข็งแกร่งของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และกระแสคาดการณ์ที่ลดลงเกี่ยวกับโอกาสที่เฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.

ในเชิงเทคนิค ค่าเงินยูโรยังมีสัญญาณของทิศทางอ่อนค่า ซึ่งสินทรัพย์เสี่ยงส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะถูกกดดันในช่วงตลาดยุโรปวันนี้ จึงจะยิ่งไปกดดันค่าเงินยูโร

ทั้งนี้ รายงานจาก Xinhua ระบุว่า ทางการจีนเริ่มรู้สึกว่าท่าทีของสหรับฯที่มีต่อการเจรจาการค้าไร้ซึ่งความจริงใจ และไม่มีความหมายที่จะต้องดำเนินการเจรจาต่อไป

· รายงานจาก Xinhua ระบุว่า รัฐบาลจีนดูเหมือนจะเริ่มมองไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเจรจาการค้าร่วมกับสหรัฐฯอีกต่อไป เนื่องจากรู้สึกได้ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่มี “ความจริงใจ” ต่อแนวทางการเจรจาในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากสหรัฐฯไม่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงให้เห็นว่าพวกเขายังมีความจริงใจต่อการเจรจา การเจรจาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ก็จะไม่มีความหมายใดๆ

· จีนมีหลากหลายวิธีที่จะตอบโต้กรณีที่สหรัฐฯประกาศคว่ำบาตร Huawei และผู้ประกอบการในสหรัฐฯก็อาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการคต่อต้านของจีน

การตอบโต้ของจีนครอบคลุมตั้งแต่การบอยคอตสินค้าของสหรัฐฯ หันไปให้ความสำคัญกับสินค้าของบริษัทอื่นๆที่ไม่ใช่ของสหรัฐฯ รวมถึงการออกกฏหมายข้อบังคับที่ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทสหรัฐฯเป็นไปอย่างอยากลำบาก

จีนอาจใช้กลยุทธ์เดียวกันนี้ในกรณีที่การเจรจาการค้าร่วมกับสหรัฐฯไม่คืบหน้าหรือล้มเหลว รวมไปถึงการจำกัดการซื้อขายหรือเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ ตลอดจนการแทรกแซงให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่า

· ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์จาก Eurasia Group คาดโอกาส 15% ที่สหรัฐฯ-จีนจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ระหว่างการพบกันในที่ประชุม G20 ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ช่วงปลายเดือนมิ.ย. ขณะที่มองโอกาส 45% ที่การเจรจาจะถูกขยายระยะเวลาออกไป และโอกาส 40% ที่จะไม่เกิดข้อตกลงหรือการสงบศึก

· ทางฝั่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup ยังคงเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถข้อตกลงได้ภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า และไม่กรณีของ Huawei จะไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องจากประเด็น Huawei เป็นปัญหาทางด้านเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายจึงจึงพยายามที่จะไม่นำมาเชื่อมโยงกับการหาข้อตกลงทางการค้า

· รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหภาพยุโรป แสดงความโล่งใจหลังมีแนวโน้มว่าสหรัฐฯจะเลื่อนการประกาศขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากยุโรปออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยระบุว่า เป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาด เพราะสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน หากเกิดการเกิดขึ้นภาษี หรือสงครามทางการค้า จะยิ่งเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จีน และบรรดาประเทศในยุโรป


· โฆษกประจำรัฐบาลญี่ปุ่น กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะพิจารณายุบสภาล่าง หากฝ่ายค้านเดินหน้ากดดันให้เกิดการโหวตไม่ไว้วางใจรัฐบาลของนายอาเบะ

· โพลสำรวจโดย Reuters คาดว่าภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 1/2019 มีแนวโน้มจะขยายตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ในขณะที่ภาพรวมรายปีมีแนวโน้มจะเป็นปีที่เศรษฐกิจเติบโตได้ช้าที่สุดในรอบ 4 ปี ท่ามกลางภาคส่งออกที่อ่อนแอ และการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัวลง แม้จะมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและภาครัฐที่สูงขึ้นก็ตาม


ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2019 มีแนวโน้มจะเติบโตได้ 1.4% ซึ่งมากกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโตได้ 0.8% ขณะที่ภาพรวมรายปี 2019 มีแนวโน้มเติบโตได้ 3.0% จึงอาจเป็นปีที่เศรษฐกิจเติบโตได้ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015


· ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังเพิ่มสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ โดยภาพรวมรายสัปดาห์ปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนนี้ เนื่องจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่ยังขยายตัวขึ้น ประกอบกับซาอุดิอาระเบียมีการโจมตีทางอากาศใส่พวกกบฎฮูติ ในเขตเมืองหลวงซานา ประเทศเยเมน เพื่อตอบโต้เหตุความไม่สงบที่มีการโจมจีสถานีสูบน้ำมันในประเทศ ส่งผลกระทบต่อความกังวลต่อภาวะอุปทานในตลาด

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 1 เซนต์ ที่ระดับ 72.61 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 8 เซนต์ ที่ระดับ 63.95 เหรียญ/บาร์เรล



Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com