• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2562

    26 มีนาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์รีบาวน์แข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยน หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ท่ามกลางนักลงทุนที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

ขณะที่ค่าเงินปอนด์ยังค่อนข้างทรงตัวในกรอบแคบ ก่อนหน้าการลงมติของรัฐสภาเกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆของ Brexit ภายในวันพรุ่งนี้

นักวิเคราะห์จาก Mizuho Securities ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์มีการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และยังมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงไปได้อีก แต่เนื่องจากการปรับลดลงของพันธบัตรจะเป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ตลาดบางส่วนยังมีมุมมองเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจอยู่บ้าง ประกอบกับมุมมองว่าเศรษฐกิจอาจจะฟื้นตัวได้บ้างหลังเฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงิน

ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.1% บริเวณ 110.065 เยน/ดอลลาร์ ห่างจากระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ 109.70 เยน/ดอลลาร์ที่ลงไปเมื่อวานนี้ขึ้นมาพอสมควร

นักวิเคราะห์จาก IG Securities ระบุว่า ตลาดจะจับตาการประกาศตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคและยอดขายบ้านของสหรัฐฯในคืนนี้ เพื่อหาทิศทางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยค่าเงินดอลลาร์อาจมีแรงหนุนขึ้นมาได้บ้าง หากตัวเลขในคืนนี้ประกาศออกมาแข็งแกร่ง และก็จะช่วยหนุนไม่ให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับร่วงลงไปมากกว่านี้

ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1317 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์ทรงตัวแถว 1.3197 ดอลลาร์/ปอนด์


· นักวิเคราะห์ FXStreet วิเคราะห์ค่าเงินเยน โดยระบุว่า ค่าเงินเยนล้มเหลวในการอ่อนค่าขึ้นไปแถว 110.25 เยน/ดอลลาร์ จึงเห็นการแข็งค่ากลับมาทรงตัวบริเวณ 110 เยน/ดอลลาร์ จากดอลลาร์ที่อ่อนค่าต่อตอบรับถ้อยแถลงของ นายโรเซ็นเกร็น หนึ่งในสมาชิกเฟด ที่ยังคงมีมุมมองขาลงต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัวในสภาวะ Risk-On

ค่าเงินเยนหากผ่าน 110.25 - 110.30 เยน/ดอลลาร์ไปได้ ก็มีโอกาสเห็นค่าเงินเยน Break เส้นค่าเฉลี่ย SMA 50 วันได้ก็มีโอกาสเห็น 110.45 - 111 เยน/ดอลลาร์

ในทางกลับกันหากค่าเงินเยนหลุดต่ำกว่า 109.75 - 109.7 เยน/ดอลลาร์ ก็มีโอกาสกลับลงทดสอบ 109.3 และ 109 เยน/ดอลลาร์


· บทวิเคราะห์โดย Daily FX ระบุว่า ในบทวิเคราะห์คราวก่อน ได้ระบุไว้ว่าค่าเงินกำลังทดสอบแนวต้านสำคัญของปีนี้ ที่ 1.1445 ดอลลาร์/ยูโร ที่แข็งค่าขึ้นมาได้หลังการประชุมเฟดครั้งที่ผ่านมา และยังเป็นเส้นเทรนขาลงที่ดำเนินมาตั้งแต่ระดับสูงสุดของเดือน มี.ค. และ ก.ย. ปีก่อน จึงยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของแนวต้านนี้ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยังไม่สามารถผ่านแนวต้านนี้ไปได้ ก่อนที่จะปรับร่วงลงมาจาระดับดังกล่าว

สำหรับการเทรดในสัปดาห์นี้จุดสนใจจะอยู่ที่แนวรับ ซึ่งหากราคายังคงปรับร่วงลง คาดว่าแนวรัยสำคัญที่ 1.1216 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของปี 2018 จะสามารถรองรับการร่วงของค่าเงินได้อยู่ ขณะที่แนวต้านจะอยู่ที่ 1.1370/72 ดอลลาร์/ยูโร ตามมาด้วย 1.1419/45 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งค่าเงินต้องปิดเหนือแดนนี้ให้ได้ ถึงจะมีโอกาสปรับขึ้นต่อไป

· CEO แห่ง Standard Chartered กล่าวว่า ความกังวลของตลาดเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน เริ่มที่จะ “ผ่อนคลายลงเล็กน้อย” ขณะที่รัฐบาลจีนก็มีการช่วยเหลือเศรษฐกิจในประเทศอย่างเหมาะสม

· นักวิเคราะห์กล่าวว่า Eurasia Group ประเมินว่า หลังจากที่รายงานการสืบสวนของนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ ได้ผ่านพ้นไป การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีแนวโน้มที่จะหาข้อสรุปได้เร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการสืบสวน เป็นปัจจัยที่กดดันให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกิดความลังเลที่จะตัดสินใจใดๆกับการเจรจาการค้า

· นักวิเคราะห์กล่าวว่า Eurasia Group ประเมินว่า หลังจากที่รายงานการสืบสวนของนายโรเบิร์ต มูลเลอร์ ได้ผ่านพ้นไป การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีแนวโน้มที่จะหาข้อสรุปได้เร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการสืบสวน เป็นปัจจัยที่กดดันให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เกิดความลังเลที่จะตัดสินใจใดๆกับการเจรจาการค้า

· ผลสำรวจโดย GfK พบว่า ผู้บริโภคชาวเยอรมนีมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงผิดคาดก่อนเข้าสู่เดือน เม.ย. บ่งชี้ว่าการใช้จ่ายของภาคครัวมีแนวโน้มที่จะอ่อนแอลงในไตรมาสที่ 2/2019

โดยก่อนหน้านี้ เชื่อว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งเนื่องจากการจ้างงานที่อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ อัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น เงินเฟ้อที่ขยายตัวในระดับปานกลาง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ จึงน่าจะช่วยหนุนให้ปริมาณอุปสงค์ในประเทศให้ยังแข็งแกร่งได้ แม้การส่งออกจะชะลอตัวลงก็ตาม

ผลสำรวจออกมาว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงสู่ระดับ 10.4 จุด ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 10.8 จุด เทียบกับเดือนก่อนที่ออกมา 10.7 จุด ขณะที่นักวิเคราะห์จาก GfK กล่าวว่า แม้ตัวเลขดังกล่าวจะออกมาลดน้อยลงกว่าคาด แต่ความเชื่อมั่นในภาพรวมแล้วก็ยังถือว่าอยู่ในแดนบวก

· หนึ่งในสมาชิกทีมกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญีปุ่น ระบุว่า มีแนวโน้มสูงที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามกำหนดการเดิมในเดือน ต.ค. แม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของปริมาณอุปสงค์ทั่วโลก และอัตราค่าจ้างที่ยังซบเซาอยู่ก็ตาม


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับตัวลงเมื่อวานนี้แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ธ.ค. ปี 2017 โดยนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และความเป็นไปได้ที่จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯอ่อนแอ
โดยจะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนยังคงยืนได้เหนือพันธบัตรอายุ 10 ปี โดยผลตอบแทนอายุ 3 ปีเคลื่อนไหวที่ 2.454% ขณะที่ อัตราผลตอบแทน 10 ปีปรับตัวลงมาที่ 2.388%

ขณะที่วันนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯมีการปรับอ่อนตัวลงมาเล็กน้อย แต่นักลงทุนก็ยังคงรอคอยสัญญาณเพิ่มเติมจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ขยับขึ้นมมาเล็กน้อยที่ 2.4283% ทางด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 30 ปี ปรับขึ้นมาที่ 2.8863%

· ด้านนักลงทุนมีแนวโน้มจะจับตาไปยังถ้อยแถลงของบรรดาสมาชิกเฟด ไม่ว่าจะเป็น นายชาล์ส อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก, นายแพทริก ฮาเกอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดเฟีย และนางแมรี ดาร์ลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ที่จะมีการกล่าวถ้อยแถลงในวันนี้

ขณะที่ นายอีริค โรเซ็นเกร็น ประธานเฟดสาขาบอสตัน กล่าวที่ฮ่องกงวันนี้เกี่ยวกับการอ่อนตัวของอัตราผลตอนแทนพันธบัตรในบางประเทศกำลังส่งผลลบต่อพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ

· Goldman Sachs ร่วมแสดงความคิดดเห็นเกี่ยวกับภาวะผกผันในอัตราผลตอบแทนพันธบัตรด้วยเช่นกัน ที่ถือเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเหมือนที่เคยผ่านมา หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวลง

· นายหลี เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวยืนยันถึงความมุ่งมุ่นของรัฐบาลจีนที่จะเปิดกว้างเศรษฐกิจของประเทศ ต้อนรับการลงทุนจากบริษัทต่างชาติมากขึ้น พร้อมให้การคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัทเหล่านั้นด้วย รวมถึงพัฒนาสภาพแวดล้อมของธุรกิจให้มีความโปร่งใสน่าเชื่อถือมากขึ้น และป้องกันไม่ให้เกิดกรณีบังคับส่งถ่ายเทคโนโลยี

· เจ้าหน้าที่อาวุโสจากองค์การ IMF กล่าวว่า กรณีข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ได้สร้างความผันผวนให้กับเศรษฐกิจอย่างรุนแรง และอาจทำให้เศรษฐกิจเอเชียสูญเสียอัตราการเติบโตลงไปได้ถึง 0.5%

· บรรดา ส.ส. ในรัฐสภาอังกฤษได้ชิงอำนาจในการบริหารนโยบาย Brexit กลับคืนมาจากนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นเวลา 1 วัน หลังจากที่การลงมติเมื่อคืนผ่านไปอย่างเป็นเอกฉันท์ และทางรัฐสภามีกำหนดจะลงมติภายในวันพุธนี้ เกี่ยวกับตัวเลือกอื่นๆของกรณี Brexit หลังจากนั้นจะเริ่มผลักดันการดำเนินนโยบายไปในทางเลือกที่รัฐสภาเห็นพ้องกัน



· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก รวมทั้งประเด็นการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเวล่าของสหรัฐฯ

แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยกดดันการปรับตัวสูงขึ้นของตลาด

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 67.48 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.9% ที่ระดับ 59.35 เหรียญ/บาร์เรล


Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com