• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2562

    25 มีนาคม 2562 | Economic News
· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยทำระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 สัปดาห์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจหนุนความต้องการค่าเงินเยนที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย

ทั้งนี้ ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.15% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ 109.79 เยน/ดอลลาร์ ทำระดับแข็งค่าที่สุดของรายวันที่ 109.70 เยน/ดอลลาร์

ขณะที่ แข็งค่า 0.15% เมื่อเทียบกับยูโรที่ 124.035 เยน/ยูโร และแข็งค่า 0.2% ที่ 77.72 เยน/ดอลลาร์ออสเตรเรีย

ส่วนดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวที่บริเวณ 96.323 จุด หลังจากอ่อนค่าลงมา 0.15% เมื่อคืนวันศุกร์ แม้จะสามารถปรับแข็งค่าขึ้นไปได้ก่อนหน้านั้นก็ตาม

· ด้านค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวแถว 1.1296 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่อ่อนค่าลง 0.7% เมื่อคืนวันศุกร์ ตอบรับการตัวเลขภาคอุตสาหกรรมเยอรมนีที่ประกาศออกมาอ่อนแอ

· ขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าเล็กน้อย ประมาณ 0.1% บริเวณ 1.3199 ดอลลาร์/ปอนด์


· Euro Weekly Technical Outlook: ยูโรยังไม่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยรายวัน 200

ค่าเงินยูโรยังคงทดสอบไม่ผ่านเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีนี้ ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงมาทันทีหลังจากทดสอบไม่ผ่าน โดยล่าสุด ค่าเงินเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 และ 50 วัน แต่ยังสูงกว่าแนว 1.1300 ดอลลาร์/ยูโร ที่เป็นแนวรับสำคัญที่ทำให้ค่าเงินรีบาวน์ขึ้นมาได้ตลอดในช่วง 4-5เดือนที่ผ่านมา ซึ่งต้องจับตาดูว่า ค่าเงินจะหลุดระดับดังกล่าวลงมาหรือไม่ ขณะที่ปัจจัยทางเทคนิคค่อนข้างชี้ไปในแดนลบ อย่างเช่น เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ค่ามีการทำจุดสูงย่อต่ำ (Lower High) และทำให้ค่าเงินหลุดออกจากทิศทางขาขึ้นในระยะสั้น ทั้งนี้ แนวรับระยะสั้นสำหรับสัปดาห์นี้ มองไว้ที่ 1.1320 และ 1.1350 ดอลลาร/ยูโร ตามมาด้วย 1.1232, 1.1215 ดอลลาร/ยูโร หากหลุดแนวรับเหล่านี้ลงมา ค่าเงินจะอ่อนค่าต่อเนื่องลงมาถึงระดับ 1.1176 ดอลลาร์/ยูโร

· กรรมการผู้จัดการจาก ForexLive กล่าวว่า นักลงทุนต้องรอจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของตลาดพันธบัตร หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3เดือนพุ่งเหนืออัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 10 ปี และถือเป็นครั้งแรกที่ Yield Curve มีความผกผันกันนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงภาวะชะลอตัว

· นายชาลส์ อิวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก แสดงความเข้าใจว่า ตลาดน่าจะเกิดความตื่นตระหนกกับการที่ Yield curve เริ่มทรงตัว ส่งผลให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นตามมาในคืนศุกร์ อย่างไรก็ตาม ยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังแข็งแกร่งและจะสามารถเติบโตต่อได้

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ยังคงปรับร่วงต่อในช่วงตลาดวันนี้ โดยหลุดต่ำกว่าระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งตลาดมองว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเข้าสู่ภาวะชะลอตัวเร็วกว่าคาด

สำหรับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด นายอีวานส์มองว่า เป็นช่วงที่เหมาะสมที่เฟดจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อจับตาดูท่าทีของเศรษฐกิจไปก่อน จึงคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงครึ่งหลังของปี 2020

· รายงานจาก Reuters ระบุว่า นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้มีการเจรจากับคณะรัฐมนตรีอาวุโส และฝั่งที่ต่อต้าน Brexit อีกครั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อพยายามแก้ไขข้อตกลง Brexit ของเธอ และนำไปทำการลงมติในรัฐสภาเป็นครั้งที่ 3 ท่ามกลางเสียงสนับสนุนของฝั่งที่ต้องการชิงอำนาจในการบริหารBrexit กลับมาจากนายกฯ เริ่มมีกำลังมากขึ้น และอาจมีการเดินหน้าเรียกร้องชิงอำนาจกลับคืนมาในเร็วๆนี้

ทางด้านนายฟิลลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี จะไม่ช่วยแก้ไขภาวะยืดเยื้อของรัฐสภาได้แต่อย่างใด แต่ก็ยอมรับว่า เป็นไปไม่ได้ที่รัฐสภาจะสนับสนุนแผน Brexit ของนางเมย์

ดังนั้น ทิศทางต่อไปของ Brexit จึงยังคงไร้ซึ่งความชัดเจน และมีความเป็นไปได้หลากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

1) การอ่อนข้อให้กับอียูมากกว่าที่นางเมย์วางนโยบายเอาไว้

2) การจัดการลงประชามติอีกครั้ง

3) การยกเลิกมาตรา 50

4) การจัดการเลือกตั้งทั่วไปก่อนกำหนด

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จึงกดดันการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก รวมทั้งการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเอล่าของสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.5% ที่ระดับ 66.73 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.6% ที่ระดัย 58.69 เหรียญ/บาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบทั้งสองปรับตัวลดลงเกือบ 3% นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018

· Crude Oil Price Forecast: เกิดสัญญาณ Evening Star หลังไม่ผ่านแนว $60

ราคาน้ำมันดิบ WTI เมื่อสัปดาห์ก่อนสามารถปรับขึ้นมาได้อย่างแข็งแกร่งภายหลังจากการประชุมเฟด จนมาถึงวันพฤหัสบดี ราคาน้ำมันเผชิญกับแรงเทขายกลับลงมาบริเวณ 60 เหรียญ/บาร์เรล แรงเทขายยังคงเกิดขึ้นต่อจนผลักให้ราคาหลุดลงมาบริเวณ 59.64 เหรียญ/บาร์เรล ส่งผลให้แท่งเทียน 3 แท่งล่าสุดในกราฟรายวัน ก่อตัวเป็นลักษณะ Evening star ทำให้ตลาดในวันศุกร์มีความไม่แน่ใจ และเข้าสู่ภาวะระมัดระวัง ซึ่งเห็นได้จากการที่ราคาถูกเทขายลงมาเกือบครึ่งหนึ่งหลังจากที่ราคาปรับขึ้นได้

สำหรับแนวโน้มระยะสั้น ราคายังมีความเสี่ยงที่จะถูกเทขายต่อในวันนี้ ซึ่งอาจถูกเทขายลงมาบริเวณ 57.25-57.50 เหรียญ/บาร์เรล หากหลุดแนวดังกล่าวลง ภาพรวมระยะยาวก็จะเริ่มมีความเสี่ยงของการปรับตัวลง แต่ยังมองระยะยาวยังเป็นขาขึ้นได้ ตราบใดที่ราคายังไม่หลุดต่ำกว่าระดับ 54.50 เหรียญ/บาร์เรล ที่เป็นระดับต่ำสุดของเดือน มี.ค.

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com