• ประธาน World Bank ลาออก ปัจจัยเสี่ยงครั้งใหม่!?

    11 มกราคม 2562 | Economic News

การประกาศลาออกของประธาน World Bank คนปัจจุบัน ได้สร้างกระแสความกังวลครั้งใหม่ให้กับตลาด ว่าสหรัฐฯจะพยายามผลักดันว่าที่ประธานคนใหม่ที่มีมุมมองทางเศรษฐกิจเหมือนกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเตือนว่า World Bank อาจเข้าสู่ภาวะวิกฤติได้

ทั้งนี้ นายจิม ยอง คิม ประธาน World Bank คนปัจจุบัน ซึ่งถูกเลือกให้เข้ารับตำแหน่งโดยนายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนก่อน ได้ประกาศลาออกเมื่อไม่นานมานี้ด้วยเหตุผลส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับแรงกดดันจากทีมบริหารของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบันแต่อย่างใด  

 

ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง

สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ World Bank และสหภาพยุโรปต่างมีข้อตกลงร่วมกันที่แบ่งสิทธ์ในการเลือกผู้นำของ World Bank และองค์กร IMF

อย่างไรก็ตาม Mark Sobel ประธานสถาบันนโยบายการเงินในสหรัฐฯ ระบุว่า ในความเป็นจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น โดยนับตั้งแต่การก่อตั้ง World Bank และ IMF หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ทางสหรัฐฯกลับเป็นผู้ครองอำนาจในการควบคุมWorld Bank แต่เพียงผู้เดียว ในขณะที่ยุโรปควบคุม IMF จึงสมควรที่จะ “ถึงเวลาเปลี่ยนแปลง” ด้วยการหันมาเลือกผู้นำด้วยระบบประชาธิปไตย

ทั้งนี้ ผู้ที่มีแนวโน้มจะได้รับเลือกให้รับตำแหน่งประธาน World Bank ล่าสุด ได้แก่ Sri Mulyani รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย, Ngozi Okonjo-Iweala อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังไนจีเรีย, Jose Antonio Ocampo ศาสตราจารย์ในโคลอมเบีย, และ Raghuram Rajan อดีตผู้ว่าธนาคารกลางอินเดีย

โดยหากผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ารับตำแหน่งไม่ได้มาจากสหรัฐฯหรือยุโรป ก็จะสามารถรักษาจุดยืนและชื่อเสียงของ World Bank ในฐานะผู้เป็นกลางเอาไว้ได้

 

วิกฤติของ World Bank

เนื่องจากมุมมองทางเศรษฐกิจที่มักเป็นปัญหากับประเทศอื่นๆของนายทรัมป์ หากเขาเป็นผู้เลือกผู้ที่จะมารับตำแหน่งด้วยตัวเอง World Bank อาจประสบปัญหาได้อย่างมากมาย

Peter McCawley อดีตอธิการบดีแห่งธนาคารพัฒนาเอเชีย ระบุว่าหากประธาน World Bank คนใหม่ที่นายทรัมป์เป็นคนเลือก พยายามผลักดันนโยบายเชิงอนุรักษ์นิยม ก็มีแนวโน้มที่ทางธนาคารจะสูญเสียความน่าเชื่อถือในองค์กรที่คอยสนับสนุนด้านการเงินให้กับประเทศด้อยพัฒนา และกลายเป็นเพียงองค์กรที่คอยสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนเท่านั้น

นอกจากนี้ การผลักดันนโยบายในแบบดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่สร้างความแตกแยกระหว่างสหรัฐฯและนานาประเทศให้ขัดแย้งกันยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากในปัจจุบันนานาประเทศต่างไม่ค่อยพึงพอใจที่สหรัฐฯเป็นผู้กุมอำนาจของ World Bank แต่เพียงผู้เดียวมากพออยู่แล้ว


ผลกระทบกับจีนและสิ่งแวดล้อม

จุดยืนของ World Bank ที่มีต่อนโยบายสิ่งแวดล้อมอาจถูกเปลี่ยนแปลงไป โดยนับตั้งแต่ที่นายทรัมป์ได้ถอนสหรัฐฯออกจากข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมกับฝรั่งเศสไป ยิ่งตอกย้ำว่านายทรัมป์ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมเลย ยิ่งไปกว่านั้นเขายังกล่าวว่าภาวะโลกร้อนเป็นเพียงแค่เรื่อง “หลอกหลวง”

ดังนั้น Julien Vincent ผู้บริหาร Market Forces จึงมองว่า หาก World Bank รับมุมมองดังกล่าวเข้ามา ก็อาจกลายเป็นวิกฤติกับ World Bank และเศรษฐกิจโลกเสียเอง เนื่องจากนโยบายควบคุมการลงทุนในภาคพลังงานของ World Bankเป็นปัจจัยที่ช่วยควบคุมบรรดาสถาบันการเงินไม่ให้มีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่มากเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณการผลิตและการปล่อยก๊าสเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้นตามมา  

นอกจากนี้ ตัวเลือกของนายทรัมป์อาจสร้างผลกระทบกับเศรษฐกิจจีนได้อีก

โดยกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐฯได้มีการกล่าวตำหนิ World Bank เกี่ยวกับการปล่อยให้จีนมีการกู้ยืมที่มากเกินไปในแต่ละปีมาโดยตลอด แม้จีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ของโลกก็ตาม ดังนั้นผู้นำ World Bank คนใหม่อาจมีการออกนโยบายเข้ามาจำกัดการกู้ยืมจากประเทศจีนอย่างเข้มงวดได้  

 

ที่มา: FX Street

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com