• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 26 กันยายน 2561

    26 กันยายน 2561 | Economic News
• ดัชนีดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบบริเวณ 94.134 จุด ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 93.814 จุด ที่ดัชนีลงไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดยังคงเฝ้ารอผลการประชุมเฟดในคืนนี้ ที่คาดว่าเฟดจะทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ยังคงมีอยู่

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยน ค่อนข้างทรงตัวที่บริเวณ 112.95 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ที่ 113.02 เยน/ดอลลาร์

ส่วนค่าเงินยูโรก็ทรงตัวเช่นกัน แถวบริเวณ 1.1767 ดอลลาร์/ยูโร

• การประชุมเฟดที่จะทราบผลในค่ำคืนนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.00%-2.25% รวมถึงส่งสัญญาณเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อๆไป

ขณะที่บรรดานักลงทุนในตลาดเชื่อว่า เฟดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายบางอย่างที่จะบ่งชี้ไปในทิศทางคุมเข้มทางการเงิน เช่น การปรับคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำว่านโยบายการเงินในปัจจุบันเอื้ออำนวยเศรษฐกิจ รวมถึงการมีท่าทีเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้น
• รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า การประชุมเฟดคืนนี้ถูกคาดการณ์เป็นวงกว้างว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่ตลาดการเงินให้น้ำหนักความสนใจไปยังสัญญาณของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯว่าจะช่วยหนุนให้เฟดคุมเข้มทางการเงินต่อไปเช่นไร

โดยจะเห็นได้ว่า โอกาสที่เฟดจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมคืนนี้ จากเครื่องมือ FedWatch ของ CME บ่งชี้โอกาสมากถึง 95% ขณะที่คำถามที่จะตามมาคือแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟดในอีก 2-3 ปีจากนี้จะตอบรับกับจีดีพีสหรัฐฯเช่นใด หรือจะมีความกังวลจากความเป็นไปได้ของภาวะ Trade War ที่จะส่งผลกับเศรษฐกิจโลก หรือภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญและจับตาอย่าใกล้ชิด

ล่าสุดในเดือนที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ มีการเปิดเผยทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีไตรมาส 2/18 ของสหรัฐฯเติบโตที่ระดับ 4.2% ซึ่งขยายตัวได้มากกว่าช่วงไตรมาสแรกที่อยู่ที่ 2.2%

นักวิเคราะห์บางส่วนจึงมีความคาดหวังว่าเฟดจะมีท่าทีคุมเข้มทางการเงินมากขึ้น โดยเฟดจะมีการเปิดเผยผลประชุมในคืนนี้เวลาตี 1 ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะประกาศผลการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ย ยังมีการเปิดเผยคาดการณ์หรือ Fed Projections จากบรรดาสมาชิกเฟด หรือแม้แต่ถ้อยแถลงหลังจบการประชุมของประธานเฟดอีกด้วย

นักเศรษฐศาสตร์จาก Natixis มองว่า ตลาดการเงินน่าจะเตรียมรับมือกับท่าทีคุมเข้มทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ขณะที่การขยายตัวของจีดีพีสหรัฐฯหรือ 4% ของอัตราจีดีพีที่แท้จริงอาจช่วยเร่งอัตราการขยายตัวของค่าแรงและมีแนวโน้มที่จะทำให้เฟดยังคงท่าทีคุมเข้มทางการเงินต่อไป ขณะที่นักลงทุนบางส่วนก็มองว่าเฟดอาจเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากเกินไปได้

• สถาบันการเงินเพื่อการลงทุนอย่าง Goldman Sachs คาดการณ์ว่า เฟดจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยได้จำนวน 4 ครั้งในปี 2019 ซึ่งมากกว่าที่บรรดาสมาชิกเฟดคาดการณ์ไว้ในเดือนมิ.ย. หรือที่บรรดานักลงทุนมองว่ามีโอกาส 2-3 ครั้งในปีหน้า

• Fed Economic Projections ในเดือนมิ.ย. สะท้อนถึงมุมมองที่เฟดคาดการณ์ต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เชื่อว่าปีนี้จะเติบโตได้ 2.8% ขณะที่อัตราว่างงาน ณ ปัจจุบันที่ระดับ 3.9% ยังคงปราศจากการสร้างแรงกดดันด้านค่าแรงและเงินเฟ้อ ขณะที่ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงมีความแข็งแกร่ง และมีการแตะระดับสูงสุดรอบ 18 ปีไปในเดือนก.ย. ที่ผ่านมา

• บรรดาผู้นำทางเศรษฐกิจในประเทศฝรั่งเศสเริ่มสร้างความกดดันให้กับนายเอ็มมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เนื่องจากพวกเขาต้องการให้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของนายเอ็มมานูเอลเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเสียที ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งฝรั่งเศส ออกมาระบุว่า นโยบายปฏิรูปดังกล่าว ยังคงต้องระยะอีกอย่างน้อย 1 ปี ถึงจะเห็นผลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นายเอ็มมานูเอล ได้เคยให้สัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปตลาดแรงงานในประเทศ รวมถึงปรับลดระดับภาษีให้กับผู้มีฐานะและผู้ประกอบการ หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

• ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือ ADB ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามปีนี้ลงสู่ระดับ 6.9% จากเดิมที่ระดับ 7.1% จากปัญหาทางการค้าที่เกิดขึ้นระหวา่งสหรัฐฯ-จีน

นอกจากนี้ ในรายงานของ ADB ยังระบุว่า กลุ่มประเทศกำลังพัมนาของเอเชียอาจขยายตัวได้ช้าลงจนถงปีหน้า ด้วยภาวะสงครามทางการค้าหรือ Trade War ของสหรัฐฯและจีนที่จะทำลายระบบเศรษฐกิจหรือภาคส่งออกในภูมิภาคได้

ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มจะขยายตัวได้ 6.0% ในปีนี้ และปีหน้าคาดจะขยายตัวได้ 5.8% โดยลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 5.9%

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก ADB ระบุว่า ภาวะความเสี่ยงขาลงมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ซึ่งปัญหาทางการค้าของสหรัฐฯและจีนนั้นจะส่งผลกระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชีย รวมไปถึงความเสี่ยงจากการไหลออกของเม็ดเงินหากเฟดมีท่าทีที่จะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วขึ้น

• ADB มองว่า เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ 6.3% ในปีหน้า โดยชะลอตัวลงจากคาดการณ์เดือนก.ค. ที่มองไว้ที่ 6.4% และน้อยกว่าประมาณการณ์การขยายตัวปีนี้ที่ระดับ 6.6%

• นักกลยุทธ์ของจีนเรียกร้องเม็ดเงินอัดฉีดมูลค่า 3.8 ล้านล้านเหรียญสำหรับเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่และระบบปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ (A.I.) ที่จะกลายเป็นการขับเคลื่อนการจ้างงานครั้งสำคัญ

• บรรดาผู้นำทางเศรษฐกิจในประเทศฝรั่งเศสเริ่มสร้างความกดดันให้กับนายเอ็มมานูเอล มาครอง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เนื่องจากพวกเขาต้องการให้นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของนายเอ็มมานูเอลเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเสียที ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งฝรั่งเศส ออกมาระบุว่า นโยบายปฏิรูปดังกล่าว ยังคงต้องระยะอีกอย่างน้อย 1 ปี ถึงจะเห็นผลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นายเอ็มมานูเอล ได้เคยให้สัญญาว่าจะดำเนินการปฏิรูปตลาดแรงงานในประเทศ รวมถึงปรับลดระดับภาษีให้กับผู้มีฐานะและผู้ประกอบการ หลังจากที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

• นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งฝรั่งเศส กล่าวว่า สหภาพยุโรปมีเป้าหมายที่สำคัญยิ่งกว่าการเจรจา Brexit กับอังกฤษ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เศรษฐกิจยูโรโซนมีความแข็งแกร่งมากพอที่จะทำให้ภาคธนาคารของแต่ละประเทศสามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพากองทุนรวมของสหภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤติทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

• เจ้าหน้าที่ทางการทูตระดับสูงแห่งประเทศจีน กล่าวว่า สหรัฐฯและจีนอาจมีการแข่งขันทางการค้าร่วมกันได้ แต่ไม่ควรมีมุมมองเป็นเชิงสงครามเย็นต่อกันและกัน และไม่ควรจ้องแต่จะเอาชนะกันและกัน

• นายโทชิมิทสึ โมเทกิ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจแห่งญี่ปุ่น ระบุว่า หลังจากการเจรจาร่วมกับนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯ ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถทำความเข้าใจกันในภาพรวมหลักๆสำหรับการก่อตั้งสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้แล้ว และคาดว่าจะมีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการภายในวันพุธนี้

• ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี ขณะที่ราคาน้ำมัน WTI กลับปรับตัวลดลง เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดว่า ปริมาณอุปสงค์และอุปทานน้ำมันจะมีความสมดุลก่อนหน้ามาตรการคว่ำบาตรส่งออกน้ำมันของอิหร่านจะมีผลบังคับใช้

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับสูงขึ้น 0.1% บริเวณ 81.87 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ปรับสูงขึ้นเกือบ 1% ในช่วงตลาดก่อนหน้า ใกล้ระดับสูงสุดของเดือน พ.ย. ปี 2014 ที่ 82.55 เหรียญ/บาร์เรล

ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 4 เซนต์ บริเวณ 72.24 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากปรับขึ้นมาได้ 0.3% ปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับสูงสุดของวันที่ 11 ก.ค.

• วิเคราะห์ราคาน้ำมัน WTI ทางเทคนิค : ราคาถูกจำกัดแถวแนวต้าน $73.00 มีแนวโน้มจะย่อตัวลงไป $70.00

เมื่อคืนที่ผ่านมา ราคาน้ำมัน WTI ยังคงพยายามเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นต่อ แต่กับถูกจำกัดการปรับตัวขึ้นโดยแนวต้าน $73.00

ดังนั้น นักวิเคราะห์จาก FX Street จึงประเมินว่า การที่ราคาจะสามารถเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้นต่อไปได้นั้น จำเป็นจะต้อง Break แนวต้านดังกล่าวไปให้ได้ แต่ถ้าหากราคาไม่สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ก็มีโอกาสที่ราคาจะย่อตัวกลับลงมาแถว $70.00

กลยุทธ์ลงทุนวันนี้

แนวโน้มหลัก : ขาขึ้น

แนวต้าน: 72.00, 73.00, 75.00

แนวรับ: 71.41, 70.53, 70.00

Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com