• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 19 เมษายน 2561

    19 เมษายน 2561 | Economic News

·         ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักส่วนใหญ่ ที่บริเวณ 89.633 จุด หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นมา 0.1% เมื่อวานนี้ ซึ่งได้รับแรงหนุนมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่ปรับสูงขึ้น 0.05% เมื่อคืนนี้ ท่ามกลางปริมาณอุปสงค์ในสินทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มนักลงทุน หลังความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้ารระหว่างสหรัฐฯ-จีนเริ่มผ่อนคลายลงไป

สำหรับค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้น 0.15% บริเวณ 107.410 เยน/ดอลลาร์

ด้านค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.07% บริเวณ 1.2383 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยเมื่อวานนี้

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ระดับ 2.43%

·         นายแรนดัล ควอเลส รองประธานเฟดด้านการกำกับดูแลภาคธนาคาร กำลังจับตาช่องว่างระหว่างการปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะสั้นและระยะยาว ว่าจะไม่ส่งผลกระทบให้นำไปสู่ภาวะชะลอตัวางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเขาไม่คิดว่าภาวะ Flattening ของYield Curve จะส่งสัญญาณชี้วัดต่อภาวะะลอตัวใดๆ

·         กองทุน IMF กล่าวว่า หนี้สินของทั่วโลกอยู่ในระดับสูง ซึ่งรัฐบาลควรที่จะดำเนินการเพิ่อปรับลดระดับหนี้สินของประเทศตนเองในขณะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ด้วยดี

รายงาน Fiscal Monitor ของ IMF ประจำเดือนเม.ย. ชี้ว่า ยอดหนี้สินโดยรวมทั่วโลกจำนวน 164 ล้านล้านเหรียญในปี 2016 ถือเป็นระดับสุงสุดเป็นประวัติการณ์ และคิดเป็น 225% ของจีดีพีโลก และระดับหนี้เพิ่มขึ้นเร็ว 12% เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในปี2009 หลังจากที่ประสบวิกฤตทางการเงิน

อย่างไรก็ดี ระดับหนี้ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศเศรษฐกิจมีอัตราจะขยายตัวอย่างรวดเร็วในตลาดเกิดใหม่ โดยคิดเป็น 105% ของจีดีพี ขณะที่กลุ่มประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางคาดว่าจะมีระดับหนี้สินคิดเป็น 50% ของจีดีพี และค่า Ratio ชี้ว่าอาจสูงกว่า40% ในปีนี้ แต่สหรัฐฯอาจเป็นประเทศเดียวที่ระดับหนี้สินอาจปรับตัวลดลงในช่วงสิ้นปี 2023 ซึ่ง Ratio ของสหรัฐฯชี้ว่าระดับหนี้จาก 108% ของจีดีพีในปี 2017 จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยสู่ระดับ 117% ในปี 2023 อันเป็นผลมาจากแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่ผ่านมติของสภาคองเกรส และแผนการปรับลดภาษี

·         รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ จีนมีการเตรียมการสำหรับผลกระทบเชิงลบจากข้อขัดแย้งทางการค้ากับทางสหรัฐฯ พร้อมระบุว่า การที่สหรัฐฯเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของจีนเพิ่มขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อภาพรวมอุตสาหกรรมภายในประเทศ

·         นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสองประเทศจะสามารถปรองดองกันได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงภาวะ Trade-War แม้ว่าทั้งสหรัฐฯและจีนในตอนนี้จะยังไม่ได้มีการเจรจาอย่างเป็นทางการใดๆ

·         ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัวได้เร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 แต่ภาวะกีดกันทางการค้าก็อาจส่งผลให้ภาพรวมดังกล่าวชะลอตัวลงได้เร็วเช่นกัน

ผลสำรวจนักกลยุทธ์ตลาดพันธบัตรและตลาดเงินตราต่างประเทศ แสดงความกังวลอย่างมากต่อ ความเสี่ยงด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีโอกาสจะคุกคามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่กำลังได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และเชื่อว่าสงครามการค้าจะบั่นทอนการขยายตัวต่อเศรษฐกิจโลกนั่นเอง

·         นักวิเคราะห์จากธนาคารกลางสิงคโปร์ ระบุว่า บรรดาประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ดูจะเป็นฝ่ายถูกกดดันในทุกๆครั้งที่เฟดตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือเมื่อราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น  แต่ยังคงมีเหตุผลอีกมากมายที่เราควรลงทุนในพันธบัตรของบรรดาประเทศเหล่านี้

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารสหรัฐฯ มักจะส่งผลกระทบให้รัฐบาลหรือผู้ประกอบการในประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ดบริหารหนี้สินได้ยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนถอนตัวออกจากตลาดเหล่านี้ และหันเข้าหาตลาดสหรัฐฯเพื่อผลกำไรที่สูงกว่า

·         ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการร่วงลงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯและซาอุดิอาระเบียส่งสัญญาณว่าต้องการให้ราคาน้ำมันดิบใกล้ถึงระดับ 100 เหรียญ/บาร์เรล โดยจะปรับลดภาวะอุปทานอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 0.4% ปิดที่ระดับ 68.75 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือนมิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.5% ปิดที่ระดับ 73.87 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากขึ้นไปทำจุดสูงสุดบริเวณ 74.02 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับแข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 27พ.ย. ปี 2014 ที่ผ่านมา


Related
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com